วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศาสนาและความเชื่อ

ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง ลักธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค

       แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า " เทพเจ้า " ( จักรพรรดิ ) สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาวแตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง

เฟิงสุ่ย ( ฮวงจุ้ย/น้ำและลม ) เป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีมาแต่โบราณ ใช้ดึงดูดโชคลาภและปัดเป่า เคราะห์ร้ายนานา ผู้เชื่อถือศาสตร์นี้จะไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ดูเฟินสุ่ยทุกเรื่อง ทั้งการออกแบบ หาฤกษ์ยาม การตกแต่งบ้านหรือสำนักงาน เป็นต้น

       อาจารย์ดูเฟินสุ่ยส่วนใหญ่จะเชื่ยวชาญการดูโหงวเฮ้ง ดูลายมือ ดูดวงจากวันเดือนปีเกิด และเวลาตกฟากด้วย นักปรัชญจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น ได้คิดค้นระบบ 12 นักษัตร อันประกอบด้วย ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุนขึ้น โดยแบ่งคนออกเป็น 12 กลุ่มตามปีเกิด และนำเอาหลักปรัชญากับตัวเลขมาคิดคำนวณเพื่อพยากรณ์โชคเคราะห์ และอนาคตของบุคคล เช่น เลขสองหมายถึงความสบาย เลขสามคือชีวิตหรือการให้กำเนิดบุตร เลขหกคือการมีอายุยืน เลขแปดคือความมั่งคั่งร่ำรวย เลขเก้าคือความเป็นนิรันดร์ เมื่อนำตัวเลขมารวมกันก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น 163 หมายถึง "การมีอายุยืนยาว" หรือ "การมีลูกดก" เป็นต้น

ที่มา:
http://www.wlc2china.com/about_china.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น