ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้ ใกล้เทศกาลวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติมิตรที่ไม่เจอหน้ากันมานาน และบางคนก็อาจได้รับอั่งเปาของขวัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ แต่ ในเมื่อนี่คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั้งที หลาย ๆ บ้านก็คงจะมีธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งในวันนี้จะพาไปดูกันว่ามีข้อห้ามอะไรบ้างไม่ควรปฏิบัติในวันตรุษจีน
1. ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน
ชาวจีนมีความเชื่อว่า การทำความสะอาดบ้าน และทิ้งขยะ ในวันตรุษจีนนั้น จะเป็นการการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน แม้ว่าบ้านในช่วงวันตรุษจีนจะสกปรกก็ตาม บางคนที่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดบ้าน ก็จะเพียงกวาดเศษฝุ่นไปไว้ที่มุมบ้าน แล้วค่อยเอาเศษฝุ่นนั้นไปทิ้งในวันต่อไป ดังนั้น วันตรุษจีน จึงไม่ค่อยมีคนทำความสะอาดบ้าน แต่จะไปทำความสะอาดกันหนึ่งก่อนวันตรุษจีน เพื่อที่จะให้บ้านสะอาดรับปีใหม่ และใช้บ้านในการต้อนรับแขกที่จะมาเยี่ยมเยียนอีกทางหนึ่ง
2. ห้ามสระผมหรือตัดผม
ชาวจีนจะไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน หรือบางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป
3. ห้ามพูดคำหยาบและทะเลาะเบาะแว้ง
ในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี เนื่องจากเชื่อว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงพยายามไม่ใช้หรือไม่พูดอะไรที่เกี่้ยวข้องกับเลข 4
4. ห้ามกินโจ๊กและเนื้อสัตว์
คนจีนมักจะไม่กินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีน เนื่องจากเชื่อว่า คนจนคือคนที่มักจะกินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น การกินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีนจึงเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวย และทำตัวเหมือนคนจน ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย เนื่องจากเชื่อว่า เทพเจ้าที่ลงมาในตอนเช้าของวันตรุษจีนนั้นเป็นมังสวิรัติ
5. ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน
คนจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีนจึงเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่าน
6. ห้ามใส่ชุดขาวดำ
เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าสีขาวดำในวันนี้จึงหมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า สีแดงคือสีที่จะนำความโชคดีมาให้
7. ห้ามให้ยืมเงิน
คนจีนบางคนอาจจะหมายรวมการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินแล้ว ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น
8. ห้ามทำของแตก
คนจีนเชื่อกันว่า การทำสิ่งของแตก เช่น ทำแก้วแตก ทำจานแตก หรือทำกระจกแตก ในวันตรุษจีนนั้น จะหมายถึงลางร้ายที่บอกว่าครอบครัวจะแตกแยก หรือมีคนเสียชีวิตในครอบครัว ดังนั้นในวันนี้ จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สิ่งของในบ้านแตกหรือชำรุดเสียหาย แต่หากทำของแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็มีวิธีการแก้เคล็ดโดยการพูดว่า "luo di ka hua" ที่แปลว่า ดอกไม้จะเบ่งบานเมื่อตกลงสู่พื้น
9. ห้ามซื้อรองเท้าใหม่
คนจีนจะถือคติที่ว่า จะไม่ซื้อรองเท้าใหม่ในเดือนแรกของวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า รองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai ซึ่งคำว่า Hai นี้ มีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ ซึ่งชาวจีนเชื่อว่า นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี
อ่านแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัตินะคะ เพื่อจะได้รับเอาโชคลาภ เงินทอง เข้ามาตั้งแต่วันตรุษจีนตลอดจนทั้งปีนี้เลยนะคะ
ที่มา:
http://senior.eduzones.com/poonpreecha/87439
ประเทศจีน(中国)กับ ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆของจีน
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เสื้อผู้ชาย
เครื่องแต่งกายชาย
ถังจวง (เสื้อคอจีน)
เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย
ถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิง แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ 1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้ 2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ 3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง 4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย
ประเทศจีนไม่ได้กำหนดชุดประจำชาติไว้ อาจเนื่องมาจากเขามีชุดหลากหลายมาก ทั้งจากกาลเวลาที่ทำให้วิวัฒนาการของรูปแบบเสื้อผ้ามาไกล และจากความจริงที่ว่าเขามีหลายเชื้อชาติและแต่ละเชื้อชาติก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง
จริงๆแล้วชุดดั้งเดิมของจีนนั้นคือฮั่่นฝู แปลตรงตัวว่า เสื้อผ้าของชาวฮั่นนั่นเอง มีลักษณะเหมือนน้องชุดแดงในรูป เป็นต้นแบบของชุดฮันบกเกาหลี และกิโมโนญี่ปุ่น พบเห็นได้ทั่วไปตามหนังจีนกำลังภายในทั้งหลาย
ต่อมาเมืองจีนถูกปกครองโดยชาวแมนจู และพวกนี้บังคับไม่ให้ชาวฮั่นใส่ชุดฮั่นฝูอีกต่อไป แต่ให้หันมาใส่ชุดประจำชาติของแมนจูแทน ซึ่งก็คือกี่เพ้านั่นเอง มีลักษณะแบบน้องชุดสีฟ้า เป็นชุดจีนที่เราคุ้นกัน
ถังจ้วงแบบนายแบบชุดสีทองพัฒนามาจากชุดแมนจูเพื่อให้ดูเป็นสากลมากขึ้น
ส่วนชุดเหมา หรือจงซาน แสดงแบบโดยท่านเหมานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยแท้ มีที่เก็บของมากมาย ใส่แล้วทะมัดทะแมง เคลื่อนไหวสะดวก และดูเป็นสากล
ที่มา:
เรื่องราวของผ้าไหมจีน
เล่ากันว่า วิธีเลี้ยงไหมของจีนเป็นความรู้ที่นางลั่วจู่ สนมของจักรพรรดิหวงตี้ เป็นผู้สอนประชาชนจีนเมื่อกว่าห้าพันปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนจีนรู้เทคนิคการปลูกหม่อม เลี้ยงไหม และทอผ้าไหมตั้งแต่สมัยโบราณ หลังจากที่จางเชียนในสมัยฮั่นตะวัน ตกได้บุกเบิกเส้นทางไปถึงตะวันตกแล้ว ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของจีนก็ได้แพร่หลายไปถึงยุโรป ชาวยุโรปเห็นผ้าไหมที่นุมนวลและ หลากหลายสีสัน เลยถือเป็นของล้ำค่และแย่งกันซื้อ เล่ากันว่า จักรพรรดิซีซาร์ของโรมก็เคย ฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าไหมจีนไปชม ละคร ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งโรงละคร โคลัมบัสเคยกล่าวกับกะลาสีเรือว่า ระหว่างการเดินทาง ถ้าใครได้พบแผ่นดินใหญ่เป็นคนแรก ก็จะได้รางวัลเป็นเสื้อผ้าไหม ราคาของผ้าไหมขณะนั้นแพงเหมือน ทอง ขณะนั้น อาณาจักรโรมันต้องประสบปัญหาขาดดุลการคลัง เนื่องจากจ่ายค่านำเข้าผ้าไหมที่แสนแพง ด้วยเหตุนี้ พฤฒิสภา จึงลงมติห้ามจำหน่ายและสวมเสื้อผ้า ไหมจีน แต่ก็ต้องประสบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นสูงทั้งหลายที่นิยมผ้าไหม จีน สุดท้าย อาณาจักรโรมันต้องยกเลิกข้อห้ามนี้ไปในที่สุด ตอนแรกชาวยุโรปไม่ทราบว่าผ้าไหมจีน มากจากการเลี้ยงตัวไหมและทักทอเป็นผ้าไหม พวกเขานึกว่า ไหมสกัดจากต้นไม้ แล้ว แช่น้ำเย็นจนกลายเป็นเส้่นไหม พอทราบว่าผ้าไหมทำด้วยเส้นไหมที่มาจากการเลี้ยงตัวไหม พวกเขาตัดสินใจหาทุกวิถีทางที่จะ เรียนรู้วิธีเลี้ยงตัวไหมของจีน มีหลายตำนานที่กล่าวขานถึงวิธีการเลี้ยงไหมของจีนแพร่ไปยังตะวันตกได้อย่าง ไร จากบันทึกที่ พระเสวียนจ้าง เขียนไว้ในบันทึกการเดินทางไปตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง ระบุว่า ทางตะวันตกมีแคว้นเล็กชื่อโคสตนะ ซึ่งอยาก เรียนรู้วิธีการเลี้ยงตัวไหม ก็เลยขอความช่วยเหลือจากประเทศตะวันออก แต่ประเทศตะวันออกขณะนั้นปฏิเสธที่จะสอนให้ และ ตรวจตราตามด่านอย่างเข้มงวดเพื่อ ป้องกันไม่ให้ไข่ตัวไหม และเมล็ดต้นหม่อมแพร่หลายไปยังต่างประเทศ ตามการศึกษาค้น คว้าของนักวิชาการประเทศตะวันออก ในที่นี้น่าจะเป็นราชวงศ์เป่ยเว่ยในสมัยนั้น กษัตริย์แคว้นโคสตนะเห็นว่าการ ขอความช่วย เหลือไม่เป็นผล ก็เลยคิดหาวิธีอื่น พระองค์ทรงของอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงประเทศตะวันออก โดยถือการส่งเสริมสัมพันธไมตรี เป็นข้ออ้าง และได้รับอนุญาตจากประเทศตะวันออก ก่อนจะอภิเษกสมรส กษัตริย์โคสตนะส่งทูตพิเศษไปลอบทูลเจ้าหญิงขอให้ เจ้าหญิงทรงพยายามนำไข่ตัวไหมและ เมล็ดต้นหม่อนออกไปด้วย เจ้าหญิงทรงยอมรับการร้องขอ ก่อนจะเดินทางเจ้าหญิงทรง ลอบเก็บไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อม ไว้ในพระมาลา เวลาออกจากด่าน เจ้าหน้าที่ตรวจค้นเสื้อผ้าและกระเป๋าทั้งหมด เพียงแต่ ไม่กล้าตรวจค้นพระมาลาบนเศียรของ เจ้าหญิง ด้วยเหตุนี้ ไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อมจึงถูกนำไปยังแคว้นโคสตนะและแพร่ หลายต่อไปยังตะวันตก การบันทึกที่ล้ำค่าของพระเสวียนจ้าง ได้รับ การพิสูจน์ยืนยันว่า เป็นจริงจากภาพพิมพ์สมัยโบราณที่พบ ในซินเกียงโดยนายสแตนลี่ ชาว ฮังการี สัญชาติอังกฤษ ผู้เป็นนักผจญภัย ตรงกลางของภาพ พิมพ์มีรูปสตรีที่ใส่อาภรณ์หรูหรา และใส่หมวก มีผู้รับใช้ทั้งซ้าย และขวา ผู้รับใช้ที่อยูซ้ายมือชี้ไปยังหมวกที่สตรีผู้นั้นใส่ สตรีผู้นี้คือเจ้าหญิงของประเทศตะวันออกที่นำไข่ตัวไหมและเมล็ดต้น หม่อนไปยังตะวันตกนั้นเอง นี่คือตำนานที่เล่าขานกันมา สำหรับท่านผู้ฟังที่ชื่นชอบผ้าไหมจีน เมื่อมาถึงกรุงปักกิ่งก็มักจะพากัน ซื้อหาผ้าไหมที่ตลาดซิ่วสุ่ย ตลาดนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันของผู้คนทั่วโลก จากเดิมที่เป็นตลาดกลางแจ้ง อยู่ในซอยแคบ ๆ ที่ยาว 500 เมตร รองรับ ลูกค้าวันละ 20,000 – 30,000 ราย และ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวต่างชาติ ปัจจุบันย้ายมาอยู่ในอาคารที่ทันสมัย มีร้านค้ากว่า 1,500 บูธ นอกจากผ้าไหมแล้วยังมีสินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนให้เลือกอีกมากมาย แต่อย่างว่าต้อง ต่อรองราคากันหน่อย นัยว่าต่อได้ครึ่งต่อครึ่งทีเดียว เพลินกับผ้าไหมจีนที่นุ่มนวล หลากหลายสีสัน กันที่ตลาดซิ่วสุ่ยค่ะ
ที่มา:
http://hakkapeople.com/node/464
ที่มา:
http://hakkapeople.com/node/464
แซ่ (姓)
แซ่ (姓) คือคำเรียกนามสกุลของชาวจีน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับไทยคือลูกใช้แซ่ตามพ่อ แต่ต่างกันที่แซ่ของชาวจีนจะวางไว้หน้าชื่อ ส่วนของไทยหรือชาติตะวันตกจะวางไว้หลังชื่อ
แซ่นั้นเริ่มกำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคสังคมแรกเริ่มของจีน (ราว 5,000 ปีก่อน) แต่ในเวลานั้นชาวจีนยกมารดรเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการสืบวงศ์ตระกูลจึงสืบสายจากทางแม่ ลูกที่มาจากแม่คนเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่ม และไม่สามารถแต่งงานกันภายในกลุ่มได้ จะต้องแต่งข้ามกลุ่ม ต่อมาเพื่อให้มีการแบ่งแยกกลุ่มอย่างเด่นชัด จึงได้มีการกำหนดให้ใช้แซ่กำกับแต่ละวงศ์ตระกูล
ในชาติวงศ์ที่สืบสายจากแม่นั้น ลูกชายหญิงจะได้รับถ่ายทอดแซ่จากแม่ และแน่นอนว่าคนแซ่เดียวกันไม่สามารถแต่งงานกันได้
โดยมีแซ่ จี (姬) จี๋ (姞) ซื่อ (姒) เจียง (姜) เป็นแซ่หลักในสมัยนั้น สังเกตุได้ว่าแซ่เหล่านี้มีตัวอักษร 女 (หนี่ว์) ซึ่งแปลว่า “ผู้หญิง” กำกับอยู่ด้วย เป็นการยืนยันให้เห็นว่า แซ่เริ่มมีขึ้นในช่วงยุคสังคมที่สืบวงตระกูลจากสายแม่
ตามบันทึก “ทำเนียบร้อยแซ่” ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งว่าด้วยเรื่องแซ่นั้น ระบุแซ่ไว้ทั้งสิ้น 494 แซ่ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรวบรวมแซ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันปรากฏว่ารวมได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 แซ่ แต่ปัจจุบันที่ชาวจีนใช้กันจริงๆ มีประมาณ 3,000 แซ่เห็นจะได้ แบ่งเป็นแซ่เดี่ยวและแซ่ 2 พยางค์ ซึ่งแซ่เดี่ยวจะมีเยอะกว่า อย่างในบันทึกทำเนียบร้อยแซ่นั้นมีแซ่เดี่ยว 434 แซ่ มีแซ่ 2 พยางค์แค่เพียง 60 แซ่เท่านั้น
โดยแซ่ 2 พยางค์ที่เห็นบ่อยที่สุดในปัจจุบันได้แก่ จูเก๋อ (จูกัด) โอวหยัง ซือหม่า ตวนมู่ กงซุน เป็นต้น ส่วนแซ่เดี่ยวที่พบมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่แซ่หวัง ตามสถิติล่าสุดที่สำรวจมามีชาวจีนใช้แซ่หวังทั้งสิ้น 93 ล้านคน ตามติดด้วยแซ่หลี่ 92 ล้านคน และแซ่จาง 88 ล้านคน ขณะที่อีก 7 แซ่ ซึ่งรวมถึง เฉิน,โจว,หลิน มีจำนวนผู้ใช้แซ่ละ 20 ล้านคน
และด้วยการที่ชาวจีนมีแซ่นิยมใช้อยู่เพียงไม่กี่ร้อยแซ่ จึงทำให้ปัจจุบันเริ่มเกิดปัญหา “ชื่อแซ่ซ้ำ” ดังนั้นจึงได้เริ่มมีการเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกใช้แซ่ผสมระหว่าง พ่อกับแม่ อาทิ พ่อแซ่ “จู” แม่แซ่ “โจว” ก็ผสมกันเป็นแซ่ “จูโจว” หรือ “โจวจู” เป็นต้น
แซ่นั้นเริ่มกำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคสังคมแรกเริ่มของจีน (ราว 5,000 ปีก่อน) แต่ในเวลานั้นชาวจีนยกมารดรเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการสืบวงศ์ตระกูลจึงสืบสายจากทางแม่ ลูกที่มาจากแม่คนเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่ม และไม่สามารถแต่งงานกันภายในกลุ่มได้ จะต้องแต่งข้ามกลุ่ม ต่อมาเพื่อให้มีการแบ่งแยกกลุ่มอย่างเด่นชัด จึงได้มีการกำหนดให้ใช้แซ่กำกับแต่ละวงศ์ตระกูล
ในชาติวงศ์ที่สืบสายจากแม่นั้น ลูกชายหญิงจะได้รับถ่ายทอดแซ่จากแม่ และแน่นอนว่าคนแซ่เดียวกันไม่สามารถแต่งงานกันได้
โดยมีแซ่ จี (姬) จี๋ (姞) ซื่อ (姒) เจียง (姜) เป็นแซ่หลักในสมัยนั้น สังเกตุได้ว่าแซ่เหล่านี้มีตัวอักษร 女 (หนี่ว์) ซึ่งแปลว่า “ผู้หญิง” กำกับอยู่ด้วย เป็นการยืนยันให้เห็นว่า แซ่เริ่มมีขึ้นในช่วงยุคสังคมที่สืบวงตระกูลจากสายแม่
ตามบันทึก “ทำเนียบร้อยแซ่” ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งว่าด้วยเรื่องแซ่นั้น ระบุแซ่ไว้ทั้งสิ้น 494 แซ่ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรวบรวมแซ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันปรากฏว่ารวมได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 แซ่ แต่ปัจจุบันที่ชาวจีนใช้กันจริงๆ มีประมาณ 3,000 แซ่เห็นจะได้ แบ่งเป็นแซ่เดี่ยวและแซ่ 2 พยางค์ ซึ่งแซ่เดี่ยวจะมีเยอะกว่า อย่างในบันทึกทำเนียบร้อยแซ่นั้นมีแซ่เดี่ยว 434 แซ่ มีแซ่ 2 พยางค์แค่เพียง 60 แซ่เท่านั้น
โดยแซ่ 2 พยางค์ที่เห็นบ่อยที่สุดในปัจจุบันได้แก่ จูเก๋อ (จูกัด) โอวหยัง ซือหม่า ตวนมู่ กงซุน เป็นต้น ส่วนแซ่เดี่ยวที่พบมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่แซ่หวัง ตามสถิติล่าสุดที่สำรวจมามีชาวจีนใช้แซ่หวังทั้งสิ้น 93 ล้านคน ตามติดด้วยแซ่หลี่ 92 ล้านคน และแซ่จาง 88 ล้านคน ขณะที่อีก 7 แซ่ ซึ่งรวมถึง เฉิน,โจว,หลิน มีจำนวนผู้ใช้แซ่ละ 20 ล้านคน
และด้วยการที่ชาวจีนมีแซ่นิยมใช้อยู่เพียงไม่กี่ร้อยแซ่ จึงทำให้ปัจจุบันเริ่มเกิดปัญหา “ชื่อแซ่ซ้ำ” ดังนั้นจึงได้เริ่มมีการเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกใช้แซ่ผสมระหว่าง พ่อกับแม่ อาทิ พ่อแซ่ “จู” แม่แซ่ “โจว” ก็ผสมกันเป็นแซ่ “จูโจว” หรือ “โจวจู” เป็นต้น
中国古代服饰与发式:ทรงผมจีนโบราณ
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยหมิง
รูปแบบทรงผมของราชวงศ์หมิงตอนต้นได้รับการตกทอดมาจากสมัยซ่งและเอวี๋ยน เมื่อกาลเวลาผ่านไปรูปแบบทรงผมสตรีก็ค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น รูปแบบมวยที่นิยมทำกันมากในสมัยนั้น คือ มวยหัวใจดอกท้อ “桃心髻”
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยเหลียว จิน และเอวี๋ยน
ที่ตั้งของยุคสมัยดังกล่าวอยู่บริเวณทางเหนือของจีน ประกอบด้วยชนชาติเหลียว จิน เอวี๋ยนและซ่ง เมื่อถึงปี ค.ศ.1234 มองโกลได้เข้ายึดครองชนชาติจิน และในปี 1271 จึงได้สถาปนาราชวงศ์เอวี๋ยนขึ้น
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยซ่ง
หลังจากที่ราชวงศ์ถังล่มสลาย มาเป็นยุค 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ได้แก่ ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว) กระทั้งปี ค.ศ.960 เจ้าคว้างอิ๋น(赵匡胤)ได้เปิดฉากยึดอำนาจราชวงศ์โจว แล้วได้สถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้น
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยสุ่ย ถัง และยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.581-ค.ศ. 960)
หลังจากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย
ประวัติศาสตร์ในยุคนี้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศยาวนานถึง 369 ปี ทั้งสงคราม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน นับว่าเป็นกลียุคของประวัติศาสตร์จีนก็ว่าได้ จุดเริ่มมาจากสมัยตงฮั่น(สมัยฮั่นตะวันออก)
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยฉินและสมัยฮั่น
จากหลักฐานทางวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบ รูปแบบทรงผมที่นิยมกันในสมัยฉินและฮั่นจะเป็นลักษณะการเกล้าผมแบบเรียบง่าย ซึ่งในชีวิตประจำวันจะไม่ติดเครื่องประดับบนศรีษะ โดยทั่วไปยอดมวยผมจะเอนไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเกล้าผมทรงสูงเป็นแบบทรงผมที่จะมีให้พบเห็นเฉพาะสตรีสังคมชั้นสูงเท่านั้น
รูปแบบทรงผมของราชวงศ์หมิงตอนต้นได้รับการตกทอดมาจากสมัยซ่งและเอวี๋ยน เมื่อกาลเวลาผ่านไปรูปแบบทรงผมสตรีก็ค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น รูปแบบมวยที่นิยมทำกันมากในสมัยนั้น คือ มวยหัวใจดอกท้อ “桃心髻”
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยเหลียว จิน และเอวี๋ยน
ที่ตั้งของยุคสมัยดังกล่าวอยู่บริเวณทางเหนือของจีน ประกอบด้วยชนชาติเหลียว จิน เอวี๋ยนและซ่ง เมื่อถึงปี ค.ศ.1234 มองโกลได้เข้ายึดครองชนชาติจิน และในปี 1271 จึงได้สถาปนาราชวงศ์เอวี๋ยนขึ้น
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยซ่ง
หลังจากที่ราชวงศ์ถังล่มสลาย มาเป็นยุค 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ได้แก่ ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว) กระทั้งปี ค.ศ.960 เจ้าคว้างอิ๋น(赵匡胤)ได้เปิดฉากยึดอำนาจราชวงศ์โจว แล้วได้สถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้น
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยสุ่ย ถัง และยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.581-ค.ศ. 960)
หลังจากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย
ประวัติศาสตร์ในยุคนี้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศยาวนานถึง 369 ปี ทั้งสงคราม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน นับว่าเป็นกลียุคของประวัติศาสตร์จีนก็ว่าได้ จุดเริ่มมาจากสมัยตงฮั่น(สมัยฮั่นตะวันออก)
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยฉินและสมัยฮั่น
จากหลักฐานทางวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบ รูปแบบทรงผมที่นิยมกันในสมัยฉินและฮั่นจะเป็นลักษณะการเกล้าผมแบบเรียบง่าย ซึ่งในชีวิตประจำวันจะไม่ติดเครื่องประดับบนศรีษะ โดยทั่วไปยอดมวยผมจะเอนไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเกล้าผมทรงสูงเป็นแบบทรงผมที่จะมีให้พบเห็นเฉพาะสตรีสังคมชั้นสูงเท่านั้น
รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : ก่อนสมัยฉิน
ในยุคนี้กล่าวไว้ว่าเป็นยุคเริ่มแรกที่มีระบบทาสในประวัติศาสตร์จีน เป็นยุคที่มีการพัฒนา แล้วก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลงไปตามลำดับ รูปแบบทรงผมในยุคนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยบุพกาลจะมีตั้งแต่ลักษณะปล่อยผมคลุมผม แล้วค่อย ๆ วิวัฒนาการมาเป็นหวีผม ถักเปีย เกล้าผม ซึ่งเครื่องประดับศรีษะก็เริ่มขึ้นในยุคนี้เช่นกัน
ที่มา:
รูปแบบทรงผมสมัยโบราณของจีน
สมัยสุ่ย ถัง และยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.581-ค.ศ. 960)
หลัง จากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589
เกษตรกรรม และงานหัตถกรรม ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในยุคนี้ ถึงแม้ว่ายุคสมัยดังกล่าวทุกอย่างแลดูดีขึ้น ทำศึกสงครามทุกครั้งก็ได้รับชัยชนะทุกครั้ง แต่ทว่าประชาชนกลับยากจนข้นแค้น ในที่สุดประชาชนจึงได้ก่อการปฏิวัติในปลายสมัยสุ่ย
และในปี ค.ศ. 618 หลี่เอวี้ยนจึงได้รวมประเทศอีกครั้งภาย ใต้ชื่อราชวงศ์ถัง ประวัติศาสตร์จีนได้กล่าวไว้ว่า สมัยถังเป็นยุคสมัยที่มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงในทุก ๆ ด้านล้วนเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยถังได้เริ่มมีการติดต่อกับนานาประเทศถึงสามร้อยกว่า ประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาและเกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม
รูป แบบทรงผมและเครื่องประดับในสมัยถังนั้นมีความสวยงามและมีความหลากหลายเป็น อย่างมาก จากบันทึกกล่าวไว้ว่า “สุ่ยมีมวยผม 8 ชนิดที่สืบทอดต่อไปยังสมัยถัง ถังมีมวยญี่ปุ่นมวยเยือนเทพ เป็นต้น” ซึ่งรูปแบบทรงผมมีการพัฒนาหลากหลายมากจนไม่สามารถกล่าวได้หมด จนเมื่อถึงปลายสมัยถัง สังคมเกิดความไม่สงบ การเมืองการปกครองล่มสลาย ประเทศจีน ตกอยู่ในสภาพที่แตกแยกออกเป็น 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ ประกอบด้วย ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น ราชวงศ์โจว
เนื่องจากรูปแบบทรงผมในสมัยถังมีความหลากหลายมากผู้เขียนจึงขอแนะนำโดยสังเขป ดังนี้
มวยตกหลังม้า และมวยญี่ปุ่นตกหลัง : เป็นลักษณะมวยเอียงคล้ายกับคนกำลังตกลงมาและเป็นมวยแกละคล้ายหลังม้า มวยจะเกล้าแบบหลวม ๆ คล้ายกับว่ากำลังจะหล่นลงมา บ้างก็นิยมนำดอกกุหลาบมาประดับบริเวณมวย เป็นทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และเป็นต้นแบบทรงผมที่ยุคสมัยต่อมานำไปดัดแปลงให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น โดยมวยญี่ปุ่นตกหลังนิยมทำกันในพิธีแต่งงานหรือสตรีที่เพิ่งจะแต่งงาน
มวยผมหลังม้า
มวยญี่ปุ่นตกหลัง
ทรงผมหญิงม่ายสมัยถัง
มวยญี่ปุ่น : มวยญี่ปุ่นได้เริ่มมีมาตั้งสมัยฮั่นทางตะวันออก ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก โดยได้ดัดแปลงมาจากผมทรง มวยพันรอบ หากสังเกตดี ๆ ผมทรงดังกล่าวคล้ายกับผมทรงญี่ปุ่นเนื่องจากสมัยฮั่น ก็คือประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นเอง บ้างก็กล่าวกันว่ามวยญี่ปุ่นคล้ายเสี้ยวพระจันทร์อยู่กลางกระหม่อม จวบกระทั้งสมัยถังก็ยังคงมีสตรีนิยมทำกันอยู่
มวยแกละ : มีมาตั้งแต่สมัยฉิน มวยแกละในสมัยถังยังคงนิยมทำกันในหมู่เด็กถึงวัยรุ่นของผู้คนทั่วไป และเป็นทรงผมของเด็กรับใช้ในราชสำนัก
มวยผม “ห่านฟ้าตระหนก” : มวย ผมทรงนี้ลักษณะคล้ายกับห่านที่กำลังกระพือปีกอยู่ โดยมีมาตั้งแต่สมัยฮั่น ในยุคสามก๊ก ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามก๊กพบว่ามวยผมทรงนี้นิยมทำกันในหมู่สตรี ชาววัง กระทั้งสมัยถัง สตรีสามัญชนทั่วไปก็ได้นำมาทำและมีระบุว่าที่เมืองฉางอันนิยมผมทรงนี้กัน เป็นอย่างมาก
มวยผมแบบกระดูกสันหลัง : มีลักษณะมวยมัดเป็นท่อน ๆ คล้ายกระดูกสันหลัง นับว่าเป็นทรงผมที่เก่าแก่ของจีนทรงหนึ่ง ไล่มาตั้งแต่สมัยซางโจว สมัยฉินฮั่น สมัยสุ่ยถัง สมัยซ่ง สมัยเหวี่ยน สมัยหมิง สมัยชิง เป็นต้น เพียงแต่มีการจัดแต่งทรงผมที่มีลักษณะความสูง ต่ำ เอนซ้ายขวา ไปทางข้างหน้าหรือข้างหลัง ต่างกันแค่นั้น
มวยกระดูกสันหลังใหญ่ มวยผมทรงกระดูกสันหลังของหญิงที่แต่งงานแล้ว
มวยก้านเกล็ด : มวยก้านเกล็ดมีมาตั้งแต่สมัยฉิน ลักษณะของมวยจะเป็นการวนไปวนมาคล้ายกับดอกไม้สมุนไพรจีนชนิดหนึ่งชื่อว่า ก้านเกล็ด
มวยผมทรงก้นหอย : เป็น ทรงผมที่หญิงสาวในราชสำนักรวมถึงหญิงสาวสามัญชนทั่วไปในสมัยถังนิยมทำกัน และนิยมเรื่อยมาถึงสมัยซ่ง และหมิง รูปแบบผมทรงนี้จะเป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย ถูกค้นพบในภาพวาด รูปปั่นแกะสลักและสุสานสมัยถัง ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า สตรีในสมัยถังชอบที่จะไว้ผมยาวแล้วเกล้าผมสูง ที่เรียกกันว่าผม “ทรงก้นหอย” ซึ่งที่เมืองฉางอันได้รับความนิยมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเกล้าผมทรงนี้จะเป็นลักษณะรูปแบบค่อย ๆ ขดวนผมให้เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป หรือใช้ลวดเหล็กในการช่วยมวยผมให้เป็นรูปทรง หลังจากนั้นใช้มือในการถัก พัน ขดให้เป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย แล้วจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งบนยอดศรีษะ หรือแบ่งออกเป็น 2 ข้าง ไม่ก็ให้ยื่นออกมาเลยหน้าผาก ซึ่งสามารถออกแบบลักษณะได้ตามใจชอบ
รูปแบบการเกล้ามวยสูง :เป็น ทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และมีการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย มีตั้งแต่เรียบง่ายไปจนถึงมีเครื่องประดับตกแต่ง บริเวณหน้าผากนิยมเสริมความงามโดยติดปีกแมลงเม่า ไข่มุก กลีบดอกไม้ เป็นต้น และนิยมเขียนคิ้วเชิดขึ้น หรือเขียนให้เป็นลักษณะเลขแปดจีน
มวยสูงสวมหมวกลายหงส์และเครื่องประดับปิ่นตุ้งติ้งทำจากหยกและไข่มุขของเจ้าจอมหรือนางสนมเอกสมัยถัง
มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้วประดับด้วยมงกุฎดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยมงกุฎดอกไม้และปีกแมลงเม่าของนางสนม
มวยผมห่อและพันด้วยผ้าดิ้นสีสันต่าง ๆ ของนางสนมในวัง
ทรงไหมย้อย : เป็นลักษณะแกละเตี้ย มัดผูกไล่มาเป็นข้อ ๆ หรือข้อเดียวแล้วแต่ความชอบของหญิงในสมัยนั้น นิยมทำกันในหมู่เด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 – 18ปีในสมัยถัง
ทรงผมสมัยยุค 5 ราชวงศ์ (ราชวงศ์ เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว) เมื่อสมัยถังล่มสลายเกิดการแตกแยกกลายเป็นอาณาจักรย่อย ๆ 5 อาณาจักร 5 ราชวงศ์ ทรงผมจึงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องมาจากสมัยสุ่ยและสมัยถัง โดยทรงผมข้างล่างนี้ เป็นทรงผมที่มีการดัดแปลงขึ้นมาในยุค 5 ราชวงศ์
มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้ว
มวยสูงของสตรีทั่วไป
มวยสูงปักด้วยปิ่นดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยปิ่นและมงกุฏดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยหวีสับ ปิ่นดอกไม้บริเวณหน้าผากวาดเป็นลายดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยหวีสับและปิ่นทรงนี้นิยมทำกันในสมัยถังและสมัย 5 ราชวงศ์
มวยเตี้ยประดับด้วยดอกไม้ของสตรีทั่วไป
จาก ที่กล่าวมาทั้งหมด สมัยราชวงศ์สุ่ยเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก สมัย 5 ราชวงศ์ ก็เป็นยุคที่ไม่มีอะไรเป็นหลัก ดังนั้นหากกล่าวถึงทางด้านวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายหรือทรงผมจึงนำทั้ง 2 ยุคนี้มากล่าวรวมกันในยุคสมัยถัง
ที่มา:
http://senior.eduzones.com/poonpreecha/78986
หลัง จากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589
เกษตรกรรม และงานหัตถกรรม ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในยุคนี้ ถึงแม้ว่ายุคสมัยดังกล่าวทุกอย่างแลดูดีขึ้น ทำศึกสงครามทุกครั้งก็ได้รับชัยชนะทุกครั้ง แต่ทว่าประชาชนกลับยากจนข้นแค้น ในที่สุดประชาชนจึงได้ก่อการปฏิวัติในปลายสมัยสุ่ย
และในปี ค.ศ. 618 หลี่เอวี้ยนจึงได้รวมประเทศอีกครั้งภาย ใต้ชื่อราชวงศ์ถัง ประวัติศาสตร์จีนได้กล่าวไว้ว่า สมัยถังเป็นยุคสมัยที่มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงในทุก ๆ ด้านล้วนเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยถังได้เริ่มมีการติดต่อกับนานาประเทศถึงสามร้อยกว่า ประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาและเกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม
รูป แบบทรงผมและเครื่องประดับในสมัยถังนั้นมีความสวยงามและมีความหลากหลายเป็น อย่างมาก จากบันทึกกล่าวไว้ว่า “สุ่ยมีมวยผม 8 ชนิดที่สืบทอดต่อไปยังสมัยถัง ถังมีมวยญี่ปุ่นมวยเยือนเทพ เป็นต้น” ซึ่งรูปแบบทรงผมมีการพัฒนาหลากหลายมากจนไม่สามารถกล่าวได้หมด จนเมื่อถึงปลายสมัยถัง สังคมเกิดความไม่สงบ การเมืองการปกครองล่มสลาย ประเทศจีน ตกอยู่ในสภาพที่แตกแยกออกเป็น 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ ประกอบด้วย ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น ราชวงศ์โจว
เนื่องจากรูปแบบทรงผมในสมัยถังมีความหลากหลายมากผู้เขียนจึงขอแนะนำโดยสังเขป ดังนี้
มวยตกหลังม้า และมวยญี่ปุ่นตกหลัง : เป็นลักษณะมวยเอียงคล้ายกับคนกำลังตกลงมาและเป็นมวยแกละคล้ายหลังม้า มวยจะเกล้าแบบหลวม ๆ คล้ายกับว่ากำลังจะหล่นลงมา บ้างก็นิยมนำดอกกุหลาบมาประดับบริเวณมวย เป็นทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และเป็นต้นแบบทรงผมที่ยุคสมัยต่อมานำไปดัดแปลงให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น โดยมวยญี่ปุ่นตกหลังนิยมทำกันในพิธีแต่งงานหรือสตรีที่เพิ่งจะแต่งงาน
มวยผมหลังม้า
มวยญี่ปุ่นตกหลัง
ทรงผมหญิงม่ายสมัยถัง
มวยญี่ปุ่น : มวยญี่ปุ่นได้เริ่มมีมาตั้งสมัยฮั่นทางตะวันออก ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก โดยได้ดัดแปลงมาจากผมทรง มวยพันรอบ หากสังเกตดี ๆ ผมทรงดังกล่าวคล้ายกับผมทรงญี่ปุ่นเนื่องจากสมัยฮั่น ก็คือประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นเอง บ้างก็กล่าวกันว่ามวยญี่ปุ่นคล้ายเสี้ยวพระจันทร์อยู่กลางกระหม่อม จวบกระทั้งสมัยถังก็ยังคงมีสตรีนิยมทำกันอยู่
มวยแกละ : มีมาตั้งแต่สมัยฉิน มวยแกละในสมัยถังยังคงนิยมทำกันในหมู่เด็กถึงวัยรุ่นของผู้คนทั่วไป และเป็นทรงผมของเด็กรับใช้ในราชสำนัก
มวยผม “ห่านฟ้าตระหนก” : มวย ผมทรงนี้ลักษณะคล้ายกับห่านที่กำลังกระพือปีกอยู่ โดยมีมาตั้งแต่สมัยฮั่น ในยุคสามก๊ก ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามก๊กพบว่ามวยผมทรงนี้นิยมทำกันในหมู่สตรี ชาววัง กระทั้งสมัยถัง สตรีสามัญชนทั่วไปก็ได้นำมาทำและมีระบุว่าที่เมืองฉางอันนิยมผมทรงนี้กัน เป็นอย่างมาก
มวยผมแบบกระดูกสันหลัง : มีลักษณะมวยมัดเป็นท่อน ๆ คล้ายกระดูกสันหลัง นับว่าเป็นทรงผมที่เก่าแก่ของจีนทรงหนึ่ง ไล่มาตั้งแต่สมัยซางโจว สมัยฉินฮั่น สมัยสุ่ยถัง สมัยซ่ง สมัยเหวี่ยน สมัยหมิง สมัยชิง เป็นต้น เพียงแต่มีการจัดแต่งทรงผมที่มีลักษณะความสูง ต่ำ เอนซ้ายขวา ไปทางข้างหน้าหรือข้างหลัง ต่างกันแค่นั้น
มวยกระดูกสันหลังใหญ่ มวยผมทรงกระดูกสันหลังของหญิงที่แต่งงานแล้ว
มวยก้านเกล็ด : มวยก้านเกล็ดมีมาตั้งแต่สมัยฉิน ลักษณะของมวยจะเป็นการวนไปวนมาคล้ายกับดอกไม้สมุนไพรจีนชนิดหนึ่งชื่อว่า ก้านเกล็ด
มวยผมทรงก้นหอย : เป็น ทรงผมที่หญิงสาวในราชสำนักรวมถึงหญิงสาวสามัญชนทั่วไปในสมัยถังนิยมทำกัน และนิยมเรื่อยมาถึงสมัยซ่ง และหมิง รูปแบบผมทรงนี้จะเป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย ถูกค้นพบในภาพวาด รูปปั่นแกะสลักและสุสานสมัยถัง ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า สตรีในสมัยถังชอบที่จะไว้ผมยาวแล้วเกล้าผมสูง ที่เรียกกันว่าผม “ทรงก้นหอย” ซึ่งที่เมืองฉางอันได้รับความนิยมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเกล้าผมทรงนี้จะเป็นลักษณะรูปแบบค่อย ๆ ขดวนผมให้เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป หรือใช้ลวดเหล็กในการช่วยมวยผมให้เป็นรูปทรง หลังจากนั้นใช้มือในการถัก พัน ขดให้เป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย แล้วจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งบนยอดศรีษะ หรือแบ่งออกเป็น 2 ข้าง ไม่ก็ให้ยื่นออกมาเลยหน้าผาก ซึ่งสามารถออกแบบลักษณะได้ตามใจชอบ
รูปแบบการเกล้ามวยสูง :เป็น ทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และมีการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย มีตั้งแต่เรียบง่ายไปจนถึงมีเครื่องประดับตกแต่ง บริเวณหน้าผากนิยมเสริมความงามโดยติดปีกแมลงเม่า ไข่มุก กลีบดอกไม้ เป็นต้น และนิยมเขียนคิ้วเชิดขึ้น หรือเขียนให้เป็นลักษณะเลขแปดจีน
มวยสูงสวมหมวกลายหงส์และเครื่องประดับปิ่นตุ้งติ้งทำจากหยกและไข่มุขของเจ้าจอมหรือนางสนมเอกสมัยถัง
มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้วประดับด้วยมงกุฎดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยมงกุฎดอกไม้และปีกแมลงเม่าของนางสนม
มวยผมห่อและพันด้วยผ้าดิ้นสีสันต่าง ๆ ของนางสนมในวัง
ทรงไหมย้อย : เป็นลักษณะแกละเตี้ย มัดผูกไล่มาเป็นข้อ ๆ หรือข้อเดียวแล้วแต่ความชอบของหญิงในสมัยนั้น นิยมทำกันในหมู่เด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 – 18ปีในสมัยถัง
ทรงผมสมัยยุค 5 ราชวงศ์ (ราชวงศ์ เหลียง ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว) เมื่อสมัยถังล่มสลายเกิดการแตกแยกกลายเป็นอาณาจักรย่อย ๆ 5 อาณาจักร 5 ราชวงศ์ ทรงผมจึงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องมาจากสมัยสุ่ยและสมัยถัง โดยทรงผมข้างล่างนี้ เป็นทรงผมที่มีการดัดแปลงขึ้นมาในยุค 5 ราชวงศ์
มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้ว
มวยสูงของสตรีทั่วไป
มวยสูงปักด้วยปิ่นดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยปิ่นและมงกุฏดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยหวีสับ ปิ่นดอกไม้บริเวณหน้าผากวาดเป็นลายดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยหวีสับและปิ่นทรงนี้นิยมทำกันในสมัยถังและสมัย 5 ราชวงศ์
มวยเตี้ยประดับด้วยดอกไม้ของสตรีทั่วไป
จาก ที่กล่าวมาทั้งหมด สมัยราชวงศ์สุ่ยเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก สมัย 5 ราชวงศ์ ก็เป็นยุคที่ไม่มีอะไรเป็นหลัก ดังนั้นหากกล่าวถึงทางด้านวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายหรือทรงผมจึงนำทั้ง 2 ยุคนี้มากล่าวรวมกันในยุคสมัยถัง
ที่มา:
http://senior.eduzones.com/poonpreecha/78986
ทรงผม
ตามความเชื่อแต่เก่าก่อน เส้นผมมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางไสยศาสตร์ ใช้ปลุกเสกเล่นของต่างๆ นานา ต่อมาสำนักปรัชญาขงจื้อได้เผยแพร่แนวความคิด “ร่างกาย เส้นผม ผิวหนัง พ่อแม่ให้ มิกล้าทำลาย” ขึ้นมา ทำให้ความเชื่อที่ว่าการตัดผมถือเป็นการไม่กตัญญูต่อบุพการีเริ่มหยั่งรากฝังลึกลงไปในสังคมจีน ชาวจีนในขณะนั้นหันมาให้ความสำคัญกับผมเป็นอย่างมาก จะตัดผมก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์จำเป็นเท่านั้น เช่น ปลงผมบวชเป็นชี เป็นหลวงจีน เป็นต้น
ปลงผมบวช
ด้วยแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับเส้นผมนี้เอง จึงทำให้มีการใช้ “การโกนผม” เป็นวิธีการลงโทษวิธีหนึ่งไปด้วย และถือเป็นครั้งแรกที่เส้นผมมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ดังเช่นวิญญูชนแห่งรัฐฉีนาม "ฉุน อี๋ว์คุน" (淳于髡) ในยุคชุนชิว ก็เคยถูกลงโทษด้วยการโกนศีรษะเช่นกัน โดยชื่อเรียก “คุน” ของเขา ซึ่งแปลว่า “การลงโทษด้วยการโกนผม” ก็มีที่มามาจากการถูกลงโทษครั้งนั้นนั่นเอง
นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ยังมีบันทึกเรื่องราวของการ “ตัดผมแทนศีรษะ” ด้วย ดังเช่นในยุคสามก๊ก โจโฉเคยฝ่าฝืนกฎทหารที่ตนเองเป็นผู้ตั้งไว้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่อาจประหารชีวิตได้ จึงได้ให้มีการลงโทษด้วยการ “ตัดผมแทนศีรษะ”
ต่างทรงผม-ต่างชนชาติ-ต่างฐานะ
ไว้ผมแบบชาวแมนจู
ไม่เพียงเส้นผมที่ชาวจีนให้ความสำคัญ แม้แต่เรื่องของทรงผมก็พิถีพิถันยิ่งนัก ทรงผมที่แตกต่างกันยังบ่งบอกได้ถึงฐานะที่ต่างระดับ ดังหลักฐานภาพวาดสมัยราชวงศ์ถังได้ปรากฎภาพวาดของสตรีไว้ผมเกล้ามวยสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือหญิงสาวผู้สูงศักดิ์ และบรรดานางสนมของฮ่องเต้ ส่วนหญิงสาวชาวบ้านธรรมดาไม่มีใครทำผมทรงนี้
ประเพณีตัดผมของชนเผ่าซีหนัน
นอกจากนี้ ทรงผมที่ไม่เหมือนกันก็บ่งบอกถึงความแตกต่างของชนชาติได้เช่นกัน ดังเช่นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนมักสยายผม ต่อมาชนชาติฮั่นได้เริ่มพัฒนาใช้เชือกรัดผม ขณะที่ชนกลุ่มน้อยจำนวนมากยังคงปล่อยผมยาวสยาย ดังนั้นการ “รัดผม” และ “ปล่อยผม” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แบ่งแยกระหว่างชนชาติฮั่นกับชนกลุ่มน้อยไปโดยปริยาย
และหลังจากกองทัพชิงได้บุกเข้าสู่จงหยวนล้มล้างราชวงศ์หมิง ทรงผมก็กลายเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง ด้วยชาวแมนจูรู้ดีว่าทรงผมและวัฒนธรรมของชาวฮั่นนั้นเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาเหล่านี้ยังคงจงรักภักดีกับเชื้อชาติของตนเอง ดังนั้นเพื่อกุมอำนาจการปกครองอย่างเด็ดขาดและให้ชาวฮั่นยอมศิโรราบ ทหารแมนจูจึงได้มีคำสั่งที่เด็ดขาดและเหี้ยมโหดต่อผู้ขัดขืน หนึ่งในนั้นคือคำสั่งให้ชาวฮั่นทั่วประเทศโกนผมครึ่งหัวแล้วไว้เปีย ใครขัดขืนฆ่า ดังที่ประกาศไว้ว่า “มีหัว ไม่มีผม, มีผม ไม่มีหัว" (留头不留发,留发不留头) นั่นเอง
ปัจจุบันใครจะไว้ทรงไหนก็แล้วแต่ความพอใจ
โดยถือว่าการตัดผมตามคำสั่งนั้นก็เหมือนเป็นเครื่องหมายว่าสวามิภักนั่นเอง แต่ในครั้งนั้นก็มีชาวฮั่นนับแสนคนที่ “ยอมเป็นผี ไม่ยอมตัดผม”
จนเมื่อการปฏิวัติซินไฮ่ล้มล้างราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลงและได้มีการก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจีนขึ้น ฝ่ายผู้มีชัยก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร และประชาชนตัดผมเปียทิ้งใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมาย กลุ่มคนหนุ่มสาวนักปฏิวัติที่เดินตามท้องถนนหากพบเห็นใครยังไว้ผมเปียก็จะตรงเข้าไปตัดผมทันที คนที่ไม่กล้าหรือไม่ต้องการตัดผมเปียก็จะใส่หมวกปิดบัง
กระทั่งหลังยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ผมจึงเริ่มห่างไกลกับการเมืองมากขึ้น กฎเกณฑ์และข้อจำกัดเรื่องผมเริ่มหายไปจากสังคม ชาวบ้านค่อยๆ มีอิสระในการเลือกไว้ผม หรือตัดผมได้ตามใจปรารถนา ยิ่งเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา รูปแบบทรงผมใหม่ๆ ก็เริ่มเข้ามา รวมไปถึงการย้อมสีผมด้วย
ที่มา:
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000112968
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)