วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมัยราชวงศ์

ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จีนยุคจักรวรรดิ


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน


นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)
พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิม จากการก่อสร้างของรัฐต่าง ๆ สมัยจ้านกั๊ว การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น
ฉินซีฮ่องเต้เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน(韩) จ้าว(赵) เว้ย(魏) ฉู่(楚) เยียน(燕) และฉี(齐) ในที่สุดการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นมหาอำนาจทาง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม กล่าวคือมีการใช้ภาษาเขียนภาษาเดียวคือจีน มาตราชั่งตวง วัด การเงิน เป็นหน่วยเดียวกันทั่วประเทศ(ปัจจุบันกลุ่มประเทศEU นำวิธีนี้ไปใช่ใช้รึเปล่า) มีระบบความกว้างของถนนกว้างสำหรับรถม้า 2 คันสวนกันได้ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กำแพงเมืองจีน อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน จากเดิมที่ดินทั้งหมดเป็นของพระราชา ฉิน หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง(ยกเลิกระบบอ๋อง(กษัตริย์)ครองประเทศราช)




ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ฮั่น

เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น

สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น
เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง

ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)


ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)


ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง
ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 (พ.ศ. 727) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก
เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)


เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่ , ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น
ค.ศ. 263 (พ.ศ. 806) ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย
ค.ศ. 265 (พ.ศ. 808) ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น
ค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์

ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์จิ้น

เขตแดนของราชวงศ์จิ้น


สุมาเอี๋ยน (司马炎) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 (พ.ศ. 808) แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปีค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน(刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ(汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀) เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420)


การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420 หรือ พ.ศ. 860-963) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ

ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์เหนือใต้
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 316 หรือ พ.ศ. 808-860) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 (พ.ศ. 982)
เมื่อถึงปีค.ศ. 581 (พ.ศ. 1124) หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
เพิ่มเติม ทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่างเงี้ยบๆ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ
อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังค์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ
หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี

ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์สุย

เขตแดนราชวงศ์สุย


สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) (ค.ศ. 581-617)
ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ถัง

ภาพเขตแดนราชวงศ์ถัง


หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 (ค.ศ. 618-907)

ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)


ดูบทความหลักที่ ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี

ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ซ่ง

เขตแดนราชวงศ์ซ่ง






สมเด็จพระจักรพรรดิซ่งไท่จู่ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่ง
ปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์หยวน

เขตแดนราชวงศ์หยวน









ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ

ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) เมื่อปีค.ศ. 1368(พ.ศ. 1911) จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์องค์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่เมืองนานกิง และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น 31ปีแห่งการครองอำนาจ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินาให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหยุงเล่อ ในปีค.ศ. 1421(พ.ศ. 1964) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
แม้รัฐบาลของราชวงศ์หมิงจะเสริมระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐให้มากขึ้นก็ตาม แต่มีจักรพรรดิหลายองค์ไม่ทรงพระปรีชาหรือไม่ก็ทรงพระเยาว์เกินไป ไม่สนพระทัยการบริหารประเทศ อำนาจจึงตกอยู่ในมือของเสนาบดีและขันที พวกเขาทุจริตคดโกงและขู่เข็ญรีดเอาเงิน ทำร้ายขุนนางที่ซื่อสัตย์ กิจการบริหารบ้านเมืองเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ความขัดแย้งในสังคมรุนแรง ช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงจึงเกิดการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาหลายครั้งหลายหนแต่ถูกปราบปรามลงได้
ในสมัยราชวงศ์หมิง เคยมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชื่อจางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่น้ำและคูคลอง และได้รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ช่วยลดภาระของประชาชนลงไปได้บ้างระดับหนึ่ง
ในสมัยราชวงศ์หมิง การเกษตรพัฒนามากขึ้นกว่ายุคก่อน การทอผ้าไหมและการผลิตเครื่องเคลือบดินเผามีความก้าวหน้ารุ่งเรือง การทำเหมืองเหล็ก การหล่อเครื่องทองเหลือง การผลิตกระดาษ การต่อเรือเป็นต้นก็มีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง เจิ้งเหอซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำเปากงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า30ประเทศถึง7ครั้งตามลำดับ แต่หลังช่วงกลางราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา จีนถูกการรุกรานจากหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง เศรษฐกิจการค้าก็ได้พัฒนาเริ่มปรากฏเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆทางเกษตรเช่นใบยาสูบ มันเทศ ข้าวโพดและถั่วลิสงเป็นต้นก็ได้มีการนำเข้ามาในจีน ในสมัยราชวงศ์หมิงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆเช่น เครื่องเคลือบดินเผาและสิ่งทอเป็นต้นได้พัฒนาถึงระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกิจการทอผ้าไหม มีเจ้าของโรงงานผลิตสิ่งทอที่มีเครื่องปั่นด้ายจำนวนหลายสิบเครื่อง และ”ช่างปั่นทอ”มีฝีมือที่รับจัดตามสั่งโดยเฉพาะขึ้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิงมีสินค้าหลากหลายชนิด การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างคึกคัก ในสถานที่ที่มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์และการคมนาคมสะดวกได้ก่อรูปขึ้นเป็นศูนย์การค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกิดเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นปักกิ่ง นานกิง ซูโจว หังโจว กว่างโจว เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง ระบอบสอบจอหงวนนิยมสอบการเขียนบทความแบบแปดตอน วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ”ซ้องกั๋ง” “สามก๊ก” “ไซอิ๊ว” “จินผิงเหมย” หรือ เรื่อง”บุปผาในกุณฑีทอง”เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อเขียนและบทประพันธ์ที่มีลักษณะคลาสสิคต่างๆเช่นสารคดี”บันทึกการท่องเที่ยวของสวี เสียเค่อ”ในด้านภูมิศาสตร์ “ตำราสมุนไพร”ของหลี่ สือเจินในด้านแพทยศาสตร์ “ชมรมหนังสือวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร”ของสวี กวางฉี นักเกษตรศาสตร์ “ “เทียนกุงไคอู้”หรือ”สารานุกรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรและหัตถกรรม”ของนายซ่งอิ้งซิง นักวิชาการด้านหัตถกรรม “สารานุกรมหย่งเล่อ”ซึ่งเป็นชุมนุมรวมเอกสารและวิทยานิพนธ์เป็นต้นก็ล้วนประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น
ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย ซึ่งยิ่งทำให้สังคมวุ่นวายมากยิ่งขึ้น
การต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น ในปีค.ศ. 1627(พ.ศ. 2170) มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย จนปีค.ศ. 1644(พ.ศ. 2187) กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา โดยท่านเจิ้งเหอและบันทึกที่ชาวอังกฤษเชื้อสายจีนเขียนไว้บางฉบับ บอกไว้ว่ามีหลักฐานแสดงว่าจีนเดินทางไปอเมริกาก่อนโคลัมบัส

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)


ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911 หรือ พ.ศ. 2187-2454) เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที"


ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น