วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์จีน

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รองจากอารยธรรมอียิปต์
รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์ฉิน (ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.)ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) แนวคิดนี้ไปสู่ภาษาอังกฤษปัจุบัน ที่อ่านเป็นภาษาเยอรมัน รัสเซีย สเปน แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.สอนให้คนจีนทุกคนสำนึกว่าแผ่นดินที่ตัวเองเกิด อยู๋อาศัย คือแผ่นดินแม่ต้องตอบแทนแผ่นดิน ทำให้คนจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอเมริกา ในยุโรป อยู่ร่วมกับคนชาติอื่นอย่างมีเสถียรภาพ เพราะใจของคนจีนส่วนใหญ่ต้องตอบแทนแผ่นดินที่ตัวอยู่อาศัย เป็น ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น(มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น เป็นชนชาติมองโกลลอยด์หน้าคล้ายคนจีน ที่ไม่เขียน พูดภาษาจีน) วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก เช่น สามก๊ก ซุนวู เครื่องปั้นดินเผา ไวน์ การสร้างสะพานแขวน เครื่องดนตรี กายกรรม การเดินเรือข้ามทวีป การพิมพ์หนังสือ เข็ม/เข็มทิศ การแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง(เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุน มองโกล ทิเบต ซินเกียง แมนจู) ซึ่งเป็นถิ่นที่ชนชาติ มองโกลลอยด์อยู่นั่นเอง แต่ไม่เขียนภาษาจีน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้


สมัยก่อนประวัติศาสตร์


ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว


ยุคโบราณ / สมัยประวัติศาสตร์จีน

ราชวงศ์เซี่ย (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์เซี่ย

เขตแดนราชวงศ์เซี่ย


ปกครองจีนในช่วง 2100-1600ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อนพ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซียนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน
ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานถึง 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ยซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์




ราชวงศ์ซาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ซาง

เขตแดนราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์ (นาจา เจียงจื่อหยา เอ้อหลางฯ)รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก
การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจ้วหวัง ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของพวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 1046 ปีก่อนคริสตกาล



ราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์โจว

เขตแดนราชวงศ์โจว
นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี(ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
[แก้]ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย
ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น
เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก

ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ดูบทความหลักที่ ยุคชุนชิว

หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. (227 ปีก่อนพ.ศ.) รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ. (67 ปีก่อนพ.ศ.) หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง


ยุคเลียดก๊ก
ดูบทความหลักที่ ยุคเลียดก๊ก

ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัฐเว่ย และ รัฐเจ้า ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน



ที่มา:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น