การปฏิวัติครั้งแรก (พ.ศ. 2454)
การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ประชาธิปไตยในที่สุด สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีหัวข้อดังนี้
ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร
[แก้] การปฏิวัติครั้งที่สอง (พ.ศ. 2492)
การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) เป็นการปฏิวัติภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย เข้าสู่ระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ โดยนับวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” โดยการปฏิวัติมีสาเหตุซึ่งสรุปได้ดังนี้
ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
การเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน
การปฏิวัติครั้งที่สองของจีนมีความสำเร็จ สรุปได้ดังนี้
ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เหมา เจ๋อตุง
รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ขาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิง
เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาด หรือทุนนิยม โดยอมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม
นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มีประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่
ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมไต้หวัน)
ระบอบประชาธิปไตยและระบอบทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า
ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง คือ
การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อตง เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ เติ้ง เสี่ยวผิง โดยยอมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ
ที่มา:
http://konmun.wordpress.com/2010/04/18/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-china/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น