วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

9 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน

ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้ ใกล้เทศกาลวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติมิตรที่ไม่เจอหน้ากันมานาน และบางคนก็อาจได้รับอั่งเปาของขวัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ แต่ ในเมื่อนี่คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั้งที หลาย ๆ บ้านก็คงจะมีธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งในวันนี้จะพาไปดูกันว่ามีข้อห้ามอะไรบ้างไม่ควรปฏิบัติในวันตรุษจีน

           1. ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน

          ชาวจีนมีความเชื่อว่า การทำความสะอาดบ้าน และทิ้งขยะ ในวันตรุษจีนนั้น จะเป็นการการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน แม้ว่าบ้านในช่วงวันตรุษจีนจะสกปรกก็ตาม บางคนที่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดบ้าน ก็จะเพียงกวาดเศษฝุ่นไปไว้ที่มุมบ้าน แล้วค่อยเอาเศษฝุ่นนั้นไปทิ้งในวันต่อไป ดังนั้น วันตรุษจีน จึงไม่ค่อยมีคนทำความสะอาดบ้าน แต่จะไปทำความสะอาดกันหนึ่งก่อนวันตรุษจีน เพื่อที่จะให้บ้านสะอาดรับปีใหม่ และใช้บ้านในการต้อนรับแขกที่จะมาเยี่ยมเยียนอีกทางหนึ่ง

           2. ห้ามสระผมหรือตัดผม

          ชาวจีนจะไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน หรือบางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป

           3. ห้ามพูดคำหยาบและทะเลาะเบาะแว้ง

          ในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี เนื่องจากเชื่อว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงพยายามไม่ใช้หรือไม่พูดอะไรที่เกี่้ยวข้องกับเลข 4

           4. ห้ามกินโจ๊กและเนื้อสัตว์

          คนจีนมักจะไม่กินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีน เนื่องจากเชื่อว่า คนจนคือคนที่มักจะกินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น การกินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีนจึงเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวย และทำตัวเหมือนคนจน ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย เนื่องจากเชื่อว่า เทพเจ้าที่ลงมาในตอนเช้าของวันตรุษจีนนั้นเป็นมังสวิรัติ

           5. ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน

          คนจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีนจึงเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่าน

            6. ห้ามใส่ชุดขาวดำ

          เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าสีขาวดำในวันนี้จึงหมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า สีแดงคือสีที่จะนำความโชคดีมาให้

            7. ห้ามให้ยืมเงิน

          คนจีนบางคนอาจจะหมายรวมการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินแล้ว ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น

            8. ห้ามทำของแตก

          คนจีนเชื่อกันว่า การทำสิ่งของแตก เช่น ทำแก้วแตก ทำจานแตก หรือทำกระจกแตก ในวันตรุษจีนนั้น จะหมายถึงลางร้ายที่บอกว่าครอบครัวจะแตกแยก หรือมีคนเสียชีวิตในครอบครัว ดังนั้นในวันนี้ จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สิ่งของในบ้านแตกหรือชำรุดเสียหาย แต่หากทำของแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็มีวิธีการแก้เคล็ดโดยการพูดว่า "luo di ka hua" ที่แปลว่า ดอกไม้จะเบ่งบานเมื่อตกลงสู่พื้น

            9. ห้ามซื้อรองเท้าใหม่

          คนจีนจะถือคติที่ว่า จะไม่ซื้อรองเท้าใหม่ในเดือนแรกของวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า รองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai ซึ่งคำว่า Hai นี้ มีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ ซึ่งชาวจีนเชื่อว่า นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี

          อ่านแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัตินะคะ เพื่อจะได้รับเอาโชคลาภ เงินทอง เข้ามาตั้งแต่วันตรุษจีนตลอดจนทั้งปีนี้เลยนะคะ

ที่มา:
http://senior.eduzones.com/poonpreecha/87439

เสื้อผู้ชาย

เครื่องแต่งกายชาย


ถังจวง (เสื้อคอจีน)

เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย

ถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิง แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ 1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้ 2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ 3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง 4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย






ประเทศจีนไม่ได้กำหนดชุดประจำชาติไว้ อาจเนื่องมาจากเขามีชุดหลากหลายมาก ทั้งจากกาลเวลาที่ทำให้วิวัฒนาการของรูปแบบเสื้อผ้ามาไกล และจากความจริงที่ว่าเขามีหลายเชื้อชาติและแต่ละเชื้อชาติก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง
จริงๆแล้วชุดดั้งเดิมของจีนนั้นคือฮั่่นฝู แปลตรงตัวว่า เสื้อผ้าของชาวฮั่นนั่นเอง มีลักษณะเหมือนน้องชุดแดงในรูป เป็นต้นแบบของชุดฮันบกเกาหลี และกิโมโนญี่ปุ่น พบเห็นได้ทั่วไปตามหนังจีนกำลังภายในทั้งหลาย
ต่อมาเมืองจีนถูกปกครองโดยชาวแมนจู และพวกนี้บังคับไม่ให้ชาวฮั่นใส่ชุดฮั่นฝูอีกต่อไป แต่ให้หันมาใส่ชุดประจำชาติของแมนจูแทน ซึ่งก็คือกี่เพ้านั่นเอง มีลักษณะแบบน้องชุดสีฟ้า เป็นชุดจีนที่เราคุ้นกัน
ถังจ้วงแบบนายแบบชุดสีทองพัฒนามาจากชุดแมนจูเพื่อให้ดูเป็นสากลมากขึ้น
ส่วนชุดเหมา หรือจงซาน แสดงแบบโดยท่านเหมานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยแท้ มีที่เก็บของมากมาย ใส่แล้วทะมัดทะแมง เคลื่อนไหวสะดวก และดูเป็นสากล


ที่มา:


เรื่องราวของผ้าไหมจีน

เล่ากันว่า วิธีเลี้ยงไหมของจีนเป็นความรู้ที่นางลั่วจู่ สนมของจักรพรรดิหวงตี้ เป็นผู้สอนประชาชนจีนเมื่อกว่าห้าพันปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนจีนรู้เทคนิคการปลูกหม่อม เลี้ยงไหม และทอผ้าไหมตั้งแต่สมัยโบราณ หลังจากที่จางเชียนในสมัยฮั่นตะวัน ตกได้บุกเบิกเส้นทางไปถึงตะวันตกแล้ว ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของจีนก็ได้แพร่หลายไปถึงยุโรป ชาวยุโรปเห็นผ้าไหมที่นุมนวลและ หลากหลายสีสัน เลยถือเป็นของล้ำค่และแย่งกันซื้อ เล่ากันว่า จักรพรรดิซีซาร์ของโรมก็เคย ฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าไหมจีนไปชม ละคร ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งโรงละคร โคลัมบัสเคยกล่าวกับกะลาสีเรือว่า ระหว่างการเดินทาง ถ้าใครได้พบแผ่นดินใหญ่เป็นคนแรก ก็จะได้รางวัลเป็นเสื้อผ้าไหม ราคาของผ้าไหมขณะนั้นแพงเหมือน ทอง ขณะนั้น อาณาจักรโรมันต้องประสบปัญหาขาดดุลการคลัง เนื่องจากจ่ายค่านำเข้าผ้าไหมที่แสนแพง ด้วยเหตุนี้ พฤฒิสภา จึงลงมติห้ามจำหน่ายและสวมเสื้อผ้า ไหมจีน แต่ก็ต้องประสบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นสูงทั้งหลายที่นิยมผ้าไหม จีน สุดท้าย อาณาจักรโรมันต้องยกเลิกข้อห้ามนี้ไปในที่สุด ตอนแรกชาวยุโรปไม่ทราบว่าผ้าไหมจีน มากจากการเลี้ยงตัวไหมและทักทอเป็นผ้าไหม พวกเขานึกว่า ไหมสกัดจากต้นไม้ แล้ว แช่น้ำเย็นจนกลายเป็นเส้่นไหม พอทราบว่าผ้าไหมทำด้วยเส้นไหมที่มาจากการเลี้ยงตัวไหม พวกเขาตัดสินใจหาทุกวิถีทางที่จะ เรียนรู้วิธีเลี้ยงตัวไหมของจีน มีหลายตำนานที่กล่าวขานถึงวิธีการเลี้ยงไหมของจีนแพร่ไปยังตะวันตกได้อย่าง ไร จากบันทึกที่ พระเสวียนจ้าง เขียนไว้ในบันทึกการเดินทางไปตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง ระบุว่า ทางตะวันตกมีแคว้นเล็กชื่อโคสตนะ ซึ่งอยาก เรียนรู้วิธีการเลี้ยงตัวไหม ก็เลยขอความช่วยเหลือจากประเทศตะวันออก แต่ประเทศตะวันออกขณะนั้นปฏิเสธที่จะสอนให้ และ ตรวจตราตามด่านอย่างเข้มงวดเพื่อ ป้องกันไม่ให้ไข่ตัวไหม และเมล็ดต้นหม่อมแพร่หลายไปยังต่างประเทศ ตามการศึกษาค้น คว้าของนักวิชาการประเทศตะวันออก ในที่นี้น่าจะเป็นราชวงศ์เป่ยเว่ยในสมัยนั้น กษัตริย์แคว้นโคสตนะเห็นว่าการ ขอความช่วย เหลือไม่เป็นผล ก็เลยคิดหาวิธีอื่น พระองค์ทรงของอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงประเทศตะวันออก โดยถือการส่งเสริมสัมพันธไมตรี เป็นข้ออ้าง และได้รับอนุญาตจากประเทศตะวันออก ก่อนจะอภิเษกสมรส กษัตริย์โคสตนะส่งทูตพิเศษไปลอบทูลเจ้าหญิงขอให้ เจ้าหญิงทรงพยายามนำไข่ตัวไหมและ เมล็ดต้นหม่อนออกไปด้วย เจ้าหญิงทรงยอมรับการร้องขอ ก่อนจะเดินทางเจ้าหญิงทรง ลอบเก็บไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อม ไว้ในพระมาลา เวลาออกจากด่าน เจ้าหน้าที่ตรวจค้นเสื้อผ้าและกระเป๋าทั้งหมด เพียงแต่ ไม่กล้าตรวจค้นพระมาลาบนเศียรของ เจ้าหญิง ด้วยเหตุนี้ ไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อมจึงถูกนำไปยังแคว้นโคสตนะและแพร่ หลายต่อไปยังตะวันตก การบันทึกที่ล้ำค่าของพระเสวียนจ้าง ได้รับ การพิสูจน์ยืนยันว่า เป็นจริงจากภาพพิมพ์สมัยโบราณที่พบ ในซินเกียงโดยนายสแตนลี่ ชาว ฮังการี สัญชาติอังกฤษ ผู้เป็นนักผจญภัย ตรงกลางของภาพ พิมพ์มีรูปสตรีที่ใส่อาภรณ์หรูหรา และใส่หมวก มีผู้รับใช้ทั้งซ้าย และขวา ผู้รับใช้ที่อยูซ้ายมือชี้ไปยังหมวกที่สตรีผู้นั้นใส่ สตรีผู้นี้คือเจ้าหญิงของประเทศตะวันออกที่นำไข่ตัวไหมและเมล็ดต้น หม่อนไปยังตะวันตกนั้นเอง นี่คือตำนานที่เล่าขานกันมา สำหรับท่านผู้ฟังที่ชื่นชอบผ้าไหมจีน เมื่อมาถึงกรุงปักกิ่งก็มักจะพากัน ซื้อหาผ้าไหมที่ตลาดซิ่วสุ่ย ตลาดนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันของผู้คนทั่วโลก จากเดิมที่เป็นตลาดกลางแจ้ง อยู่ในซอยแคบ ๆ ที่ยาว 500 เมตร รองรับ ลูกค้าวันละ 20,000 – 30,000 ราย และ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวต่างชาติ ปัจจุบันย้ายมาอยู่ในอาคารที่ทันสมัย มีร้านค้ากว่า 1,500 บูธ นอกจากผ้าไหมแล้วยังมีสินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนให้เลือกอีกมากมาย แต่อย่างว่าต้อง ต่อรองราคากันหน่อย นัยว่าต่อได้ครึ่งต่อครึ่งทีเดียว เพลินกับผ้าไหมจีนที่นุ่มนวล หลากหลายสีสัน กันที่ตลาดซิ่วสุ่ยค่ะ

ที่มา:
http://hakkapeople.com/node/464

แซ่ (姓)

   แซ่ (姓) คือคำเรียกนามสกุลของชาวจีน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับไทยคือลูกใช้แซ่ตามพ่อ แต่ต่างกันที่แซ่ของชาวจีนจะวางไว้หน้าชื่อ ส่วนของไทยหรือชาติตะวันตกจะวางไว้หลังชื่อ
     
       แซ่นั้นเริ่มกำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคสังคมแรกเริ่มของจีน (ราว 5,000 ปีก่อน) แต่ในเวลานั้นชาวจีนยกมารดรเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการสืบวงศ์ตระกูลจึงสืบสายจากทางแม่ ลูกที่มาจากแม่คนเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่ม และไม่สามารถแต่งงานกันภายในกลุ่มได้ จะต้องแต่งข้ามกลุ่ม ต่อมาเพื่อให้มีการแบ่งแยกกลุ่มอย่างเด่นชัด จึงได้มีการกำหนดให้ใช้แซ่กำกับแต่ละวงศ์ตระกูล
     
       ในชาติวงศ์ที่สืบสายจากแม่นั้น ลูกชายหญิงจะได้รับถ่ายทอดแซ่จากแม่ และแน่นอนว่าคนแซ่เดียวกันไม่สามารถแต่งงานกันได้
     
       โดยมีแซ่ จี (姬) จี๋ (姞) ซื่อ (姒) เจียง (姜) เป็นแซ่หลักในสมัยนั้น สังเกตุได้ว่าแซ่เหล่านี้มีตัวอักษร 女 (หนี่ว์) ซึ่งแปลว่า “ผู้หญิง” กำกับอยู่ด้วย เป็นการยืนยันให้เห็นว่า แซ่เริ่มมีขึ้นในช่วงยุคสังคมที่สืบวงตระกูลจากสายแม่
     
       ตามบันทึก “ทำเนียบร้อยแซ่” ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งว่าด้วยเรื่องแซ่นั้น ระบุแซ่ไว้ทั้งสิ้น 494 แซ่ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรวบรวมแซ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันปรากฏว่ารวมได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 แซ่ แต่ปัจจุบันที่ชาวจีนใช้กันจริงๆ มีประมาณ 3,000 แซ่เห็นจะได้ แบ่งเป็นแซ่เดี่ยวและแซ่ 2 พยางค์ ซึ่งแซ่เดี่ยวจะมีเยอะกว่า อย่างในบันทึกทำเนียบร้อยแซ่นั้นมีแซ่เดี่ยว 434 แซ่ มีแซ่ 2 พยางค์แค่เพียง 60 แซ่เท่านั้น
     
       โดยแซ่ 2 พยางค์ที่เห็นบ่อยที่สุดในปัจจุบันได้แก่ จูเก๋อ (จูกัด) โอวหยัง ซือหม่า ตวนมู่ กงซุน เป็นต้น ส่วนแซ่เดี่ยวที่พบมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่แซ่หวัง ตามสถิติล่าสุดที่สำรวจมามีชาวจีนใช้แซ่หวังทั้งสิ้น 93 ล้านคน ตามติดด้วยแซ่หลี่ 92 ล้านคน และแซ่จาง 88 ล้านคน ขณะที่อีก 7 แซ่ ซึ่งรวมถึง เฉิน,โจว,หลิน มีจำนวนผู้ใช้แซ่ละ 20 ล้านคน
     
       และด้วยการที่ชาวจีนมีแซ่นิยมใช้อยู่เพียงไม่กี่ร้อยแซ่ จึงทำให้ปัจจุบันเริ่มเกิดปัญหา “ชื่อแซ่ซ้ำ” ดังนั้นจึงได้เริ่มมีการเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกใช้แซ่ผสมระหว่าง พ่อกับแม่ อาทิ พ่อแซ่ “จู” แม่แซ่ “โจว” ก็ผสมกันเป็นแซ่ “จูโจว” หรือ “โจวจู” เป็นต้น

中国古代服饰与发式:ทรงผมจีนโบราณ

รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยหมิง



        รูปแบบทรงผมของราชวงศ์หมิงตอนต้นได้รับการตกทอดมาจากสมัยซ่งและเอวี๋ยน เมื่อกาลเวลาผ่านไปรูปแบบทรงผมสตรีก็ค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น รูปแบบมวยที่นิยมทำกันมากในสมัยนั้น คือ มวยหัวใจดอกท้อ “桃心髻”


รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยเหลียว จิน และเอวี๋ยน



ที่ตั้งของยุคสมัยดังกล่าวอยู่บริเวณทางเหนือของจีน ประกอบด้วยชนชาติเหลียว จิน เอวี๋ยนและซ่ง เมื่อถึงปี ค.ศ.1234  มองโกลได้เข้ายึดครองชนชาติจิน และในปี 1271 จึงได้สถาปนาราชวงศ์เอวี๋ยนขึ้น



รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยซ่ง




หลังจากที่ราชวงศ์ถังล่มสลาย มาเป็นยุค 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ได้แก่ ราชวงศ์เหลียง  ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว)  กระทั้งปี ค.ศ.960 เจ้าคว้างอิ๋น(赵匡胤)ได้เปิดฉากยึดอำนาจราชวงศ์โจว แล้วได้สถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้น



รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : สมัยสุ่ย ถัง และยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.581-ค.ศ. 960)





            หลังจากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589




รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย







ประวัติศาสตร์ในยุคนี้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศยาวนานถึง 369 ปี ทั้งสงคราม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน นับว่าเป็นกลียุคของประวัติศาสตร์จีนก็ว่าได้ จุดเริ่มมาจากสมัยตงฮั่น(สมัยฮั่นตะวันออก)



รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ :สมัยฉินและสมัยฮั่น





จากหลักฐานทางวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบ  รูปแบบทรงผมที่นิยมกันในสมัยฉินและฮั่นจะเป็นลักษณะการเกล้าผมแบบเรียบง่าย ซึ่งในชีวิตประจำวันจะไม่ติดเครื่องประดับบนศรีษะ โดยทั่วไปยอดมวยผมจะเอนไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเกล้าผมทรงสูงเป็นแบบทรงผมที่จะมีให้พบเห็นเฉพาะสตรีสังคมชั้นสูงเท่านั้น


รูปแบบทรงผมแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโบราณ : ก่อนสมัยฉิน




              ในยุคนี้กล่าวไว้ว่าเป็นยุคเริ่มแรกที่มีระบบทาสในประวัติศาสตร์จีน เป็นยุคที่มีการพัฒนา แล้วก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลงไปตามลำดับ รูปแบบทรงผมในยุคนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยบุพกาลจะมีตั้งแต่ลักษณะปล่อยผมคลุมผม  แล้วค่อย ๆ วิวัฒนาการมาเป็นหวีผม ถักเปีย เกล้าผม  ซึ่งเครื่องประดับศรีษะก็เริ่มขึ้นในยุคนี้เช่นกัน



ที่มา:

รูปแบบทรงผมสมัยโบราณของจีน

สมัยสุ่ย  ถัง และยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.581-ค.ศ. 960)

          หลัง จากที่กษัตริย์สุ่ยเหวินได้ยกทัพไปปราบรัฐเฉิน อาณาจักรเป่ยโจว (ก่อนค.ศ.1066-ค.ศ. 256 อยู่ทางเหนือของจีน) จนล่มสลายสำเร็จ จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์สุ่ยขึ้นมาในปี ค.ศ. 581 และสามารถรวมชาติจีนได้ในปี ค.ศ. 589



          เกษตรกรรม และงานหัตถกรรม ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในยุคนี้ ถึงแม้ว่ายุคสมัยดังกล่าวทุกอย่างแลดูดีขึ้น ทำศึกสงครามทุกครั้งก็ได้รับชัยชนะทุกครั้ง แต่ทว่าประชาชนกลับยากจนข้นแค้น ในที่สุดประชาชนจึงได้ก่อการปฏิวัติในปลายสมัยสุ่ย

           และในปี ค.ศ. 618 หลี่เอวี้ยนจึงได้รวมประเทศอีกครั้งภาย ใต้ชื่อราชวงศ์ถัง ประวัติศาสตร์จีนได้กล่าวไว้ว่า  สมัยถังเป็นยุคสมัยที่มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงในทุก ๆ ด้านล้วนเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยถังได้เริ่มมีการติดต่อกับนานาประเทศถึงสามร้อยกว่า ประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาและเกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม

           รูป แบบทรงผมและเครื่องประดับในสมัยถังนั้นมีความสวยงามและมีความหลากหลายเป็น อย่างมาก จากบันทึกกล่าวไว้ว่า “สุ่ยมีมวยผม 8 ชนิดที่สืบทอดต่อไปยังสมัยถัง   ถังมีมวยญี่ปุ่นมวยเยือนเทพ  เป็นต้น” ซึ่งรูปแบบทรงผมมีการพัฒนาหลากหลายมากจนไม่สามารถกล่าวได้หมด จนเมื่อถึงปลายสมัยถัง สังคมเกิดความไม่สงบ การเมืองการปกครองล่มสลาย ประเทศจีน ตกอยู่ในสภาพที่แตกแยกออกเป็น 5 ราชวงศ์ 10 ประเทศ ประกอบด้วย ราชวงศ์เหลียง  ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น ราชวงศ์โจว

          เนื่องจากรูปแบบทรงผมในสมัยถังมีความหลากหลายมากผู้เขียนจึงขอแนะนำโดยสังเขป ดังนี้

มวยตกหลังม้า และมวยญี่ปุ่นตกหลัง  : เป็นลักษณะมวยเอียงคล้ายกับคนกำลังตกลงมาและเป็นมวยแกละคล้ายหลังม้า  มวยจะเกล้าแบบหลวม ๆ คล้ายกับว่ากำลังจะหล่นลงมา บ้างก็นิยมนำดอกกุหลาบมาประดับบริเวณมวย  เป็นทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และเป็นต้นแบบทรงผมที่ยุคสมัยต่อมานำไปดัดแปลงให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น  โดยมวยญี่ปุ่นตกหลังนิยมทำกันในพิธีแต่งงานหรือสตรีที่เพิ่งจะแต่งงาน

มวยผมหลังม้า
มวยญี่ปุ่นตกหลัง
ทรงผมหญิงม่ายสมัยถัง

มวยญี่ปุ่น : มวยญี่ปุ่นได้เริ่มมีมาตั้งสมัยฮั่นทางตะวันออก ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก โดยได้ดัดแปลงมาจากผมทรง มวยพันรอบ หากสังเกตดี ๆ ผมทรงดังกล่าวคล้ายกับผมทรงญี่ปุ่นเนื่องจากสมัยฮั่น ก็คือประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นเอง  บ้างก็กล่าวกันว่ามวยญี่ปุ่นคล้ายเสี้ยวพระจันทร์อยู่กลางกระหม่อม จวบกระทั้งสมัยถังก็ยังคงมีสตรีนิยมทำกันอยู่

มวยแกละ : มีมาตั้งแต่สมัยฉิน มวยแกละในสมัยถังยังคงนิยมทำกันในหมู่เด็กถึงวัยรุ่นของผู้คนทั่วไป และเป็นทรงผมของเด็กรับใช้ในราชสำนัก

มวยผม “ห่านฟ้าตระหนก”  : มวย ผมทรงนี้ลักษณะคล้ายกับห่านที่กำลังกระพือปีกอยู่ โดยมีมาตั้งแต่สมัยฮั่น ในยุคสามก๊ก ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามก๊กพบว่ามวยผมทรงนี้นิยมทำกันในหมู่สตรี ชาววัง กระทั้งสมัยถัง สตรีสามัญชนทั่วไปก็ได้นำมาทำและมีระบุว่าที่เมืองฉางอันนิยมผมทรงนี้กัน เป็นอย่างมาก

มวยผมแบบกระดูกสันหลัง  : มีลักษณะมวยมัดเป็นท่อน ๆ คล้ายกระดูกสันหลัง นับว่าเป็นทรงผมที่เก่าแก่ของจีนทรงหนึ่ง ไล่มาตั้งแต่สมัยซางโจว สมัยฉินฮั่น  สมัยสุ่ยถัง  สมัยซ่ง  สมัยเหวี่ยน  สมัยหมิง สมัยชิง เป็นต้น เพียงแต่มีการจัดแต่งทรงผมที่มีลักษณะความสูง ต่ำ เอนซ้ายขวา ไปทางข้างหน้าหรือข้างหลัง ต่างกันแค่นั้น

มวยกระดูกสันหลังใหญ่ มวยผมทรงกระดูกสันหลังของหญิงที่แต่งงานแล้ว

มวยก้านเกล็ด : มวยก้านเกล็ดมีมาตั้งแต่สมัยฉิน ลักษณะของมวยจะเป็นการวนไปวนมาคล้ายกับดอกไม้สมุนไพรจีนชนิดหนึ่งชื่อว่า ก้านเกล็ด

มวยผมทรงก้นหอย  : เป็น ทรงผมที่หญิงสาวในราชสำนักรวมถึงหญิงสาวสามัญชนทั่วไปในสมัยถังนิยมทำกัน และนิยมเรื่อยมาถึงสมัยซ่ง และหมิง  รูปแบบผมทรงนี้จะเป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย ถูกค้นพบในภาพวาด รูปปั่นแกะสลักและสุสานสมัยถัง ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า สตรีในสมัยถังชอบที่จะไว้ผมยาวแล้วเกล้าผมสูง ที่เรียกกันว่าผม “ทรงก้นหอย”  ซึ่งที่เมืองฉางอันได้รับความนิยมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเกล้าผมทรงนี้จะเป็นลักษณะรูปแบบค่อย ๆ ขดวนผมให้เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป หรือใช้ลวดเหล็กในการช่วยมวยผมให้เป็นรูปทรง หลังจากนั้นใช้มือในการถัก พัน ขดให้เป็นลักษณะคล้ายลายก้นหอย แล้วจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งบนยอดศรีษะ หรือแบ่งออกเป็น 2 ข้าง ไม่ก็ให้ยื่นออกมาเลยหน้าผาก ซึ่งสามารถออกแบบลักษณะได้ตามใจชอบ

รูปแบบการเกล้ามวยสูง :เป็น ทรงผมที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยถัง และมีการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย มีตั้งแต่เรียบง่ายไปจนถึงมีเครื่องประดับตกแต่ง บริเวณหน้าผากนิยมเสริมความงามโดยติดปีกแมลงเม่า ไข่มุก กลีบดอกไม้  เป็นต้น และนิยมเขียนคิ้วเชิดขึ้น หรือเขียนให้เป็นลักษณะเลขแปดจีน

มวยสูงสวมหมวกลายหงส์และเครื่องประดับปิ่นตุ้งติ้งทำจากหยกและไข่มุขของเจ้าจอมหรือนางสนมเอกสมัยถัง  
มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้วประดับด้วยมงกุฎดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยมงกุฎดอกไม้และปีกแมลงเม่าของนางสนม
มวยผมห่อและพันด้วยผ้าดิ้นสีสันต่าง ๆ ของนางสนมในวัง              

ทรงไหมย้อย  : เป็นลักษณะแกละเตี้ย มัดผูกไล่มาเป็นข้อ ๆ หรือข้อเดียวแล้วแต่ความชอบของหญิงในสมัยนั้น นิยมทำกันในหมู่เด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 – 18ปีในสมัยถัง

ทรงผมสมัยยุค 5 ราชวงศ์  (ราชวงศ์ เหลียง  ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศฮั่น และราชวงศ์โจว)  เมื่อสมัยถังล่มสลายเกิดการแตกแยกกลายเป็นอาณาจักรย่อย ๆ 5 อาณาจักร 5 ราชวงศ์ ทรงผมจึงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องมาจากสมัยสุ่ยและสมัยถัง  โดยทรงผมข้างล่างนี้ เป็นทรงผมที่มีการดัดแปลงขึ้นมาในยุค 5 ราชวงศ์

มวยสูงของสตรีที่แต่งงานแล้ว
มวยสูงของสตรีทั่วไป
มวยสูงปักด้วยปิ่นดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยปิ่นและมงกุฏดอกไม้
มวยสูงที่ประดับด้วยหวีสับ ปิ่นดอกไม้บริเวณหน้าผากวาดเป็นลายดอกไม้
มวยสูงประดับด้วยหวีสับและปิ่นทรงนี้นิยมทำกันในสมัยถังและสมัย 5 ราชวงศ์
มวยเตี้ยประดับด้วยดอกไม้ของสตรีทั่วไป

         จาก ที่กล่าวมาทั้งหมด สมัยราชวงศ์สุ่ยเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก สมัย 5 ราชวงศ์ ก็เป็นยุคที่ไม่มีอะไรเป็นหลัก  ดังนั้นหากกล่าวถึงทางด้านวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายหรือทรงผมจึงนำทั้ง 2 ยุคนี้มากล่าวรวมกันในยุคสมัยถัง


ที่มา:
http://senior.eduzones.com/poonpreecha/78986

ทรงผม

   
       ตามความเชื่อแต่เก่าก่อน เส้นผมมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางไสยศาสตร์ ใช้ปลุกเสกเล่นของต่างๆ นานา ต่อมาสำนักปรัชญาขงจื้อได้เผยแพร่แนวความคิด “ร่างกาย เส้นผม ผิวหนัง พ่อแม่ให้ มิกล้าทำลาย” ขึ้นมา ทำให้ความเชื่อที่ว่าการตัดผมถือเป็นการไม่กตัญญูต่อบุพการีเริ่มหยั่งรากฝังลึกลงไปในสังคมจีน ชาวจีนในขณะนั้นหันมาให้ความสำคัญกับผมเป็นอย่างมาก จะตัดผมก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์จำเป็นเท่านั้น เช่น ปลงผมบวชเป็นชี เป็นหลวงจีน เป็นต้น


ปลงผมบวช


 ด้วยแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับเส้นผมนี้เอง จึงทำให้มีการใช้ “การโกนผม” เป็นวิธีการลงโทษวิธีหนึ่งไปด้วย และถือเป็นครั้งแรกที่เส้นผมมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ดังเช่นวิญญูชนแห่งรัฐฉีนาม "ฉุน อี๋ว์คุน" (淳于髡) ในยุคชุนชิว ก็เคยถูกลงโทษด้วยการโกนศีรษะเช่นกัน โดยชื่อเรียก “คุน” ของเขา ซึ่งแปลว่า “การลงโทษด้วยการโกนผม” ก็มีที่มามาจากการถูกลงโทษครั้งนั้นนั่นเอง
     
       นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ยังมีบันทึกเรื่องราวของการ “ตัดผมแทนศีรษะ” ด้วย ดังเช่นในยุคสามก๊ก โจโฉเคยฝ่าฝืนกฎทหารที่ตนเองเป็นผู้ตั้งไว้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่อาจประหารชีวิตได้ จึงได้ให้มีการลงโทษด้วยการ “ตัดผมแทนศีรษะ”
     
       ต่างทรงผม-ต่างชนชาติ-ต่างฐานะ


ไว้ผมแบบชาวแมนจู



ไม่เพียงเส้นผมที่ชาวจีนให้ความสำคัญ แม้แต่เรื่องของทรงผมก็พิถีพิถันยิ่งนัก ทรงผมที่แตกต่างกันยังบ่งบอกได้ถึงฐานะที่ต่างระดับ ดังหลักฐานภาพวาดสมัยราชวงศ์ถังได้ปรากฎภาพวาดของสตรีไว้ผมเกล้ามวยสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือหญิงสาวผู้สูงศักดิ์ และบรรดานางสนมของฮ่องเต้ ส่วนหญิงสาวชาวบ้านธรรมดาไม่มีใครทำผมทรงนี้

ประเพณีตัดผมของชนเผ่าซีหนัน

 นอกจากนี้ ทรงผมที่ไม่เหมือนกันก็บ่งบอกถึงความแตกต่างของชนชาติได้เช่นกัน ดังเช่นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนมักสยายผม ต่อมาชนชาติฮั่นได้เริ่มพัฒนาใช้เชือกรัดผม ขณะที่ชนกลุ่มน้อยจำนวนมากยังคงปล่อยผมยาวสยาย ดังนั้นการ “รัดผม” และ “ปล่อยผม” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แบ่งแยกระหว่างชนชาติฮั่นกับชนกลุ่มน้อยไปโดยปริยาย
     
       และหลังจากกองทัพชิงได้บุกเข้าสู่จงหยวนล้มล้างราชวงศ์หมิง ทรงผมก็กลายเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง ด้วยชาวแมนจูรู้ดีว่าทรงผมและวัฒนธรรมของชาวฮั่นนั้นเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาเหล่านี้ยังคงจงรักภักดีกับเชื้อชาติของตนเอง ดังนั้นเพื่อกุมอำนาจการปกครองอย่างเด็ดขาดและให้ชาวฮั่นยอมศิโรราบ ทหารแมนจูจึงได้มีคำสั่งที่เด็ดขาดและเหี้ยมโหดต่อผู้ขัดขืน หนึ่งในนั้นคือคำสั่งให้ชาวฮั่นทั่วประเทศโกนผมครึ่งหัวแล้วไว้เปีย ใครขัดขืนฆ่า ดังที่ประกาศไว้ว่า “มีหัว ไม่มีผม, มีผม ไม่มีหัว" (留头不留发,留发不留头) นั่นเอง



ปัจจุบันใครจะไว้ทรงไหนก็แล้วแต่ความพอใจ


โดยถือว่าการตัดผมตามคำสั่งนั้นก็เหมือนเป็นเครื่องหมายว่าสวามิภักนั่นเอง แต่ในครั้งนั้นก็มีชาวฮั่นนับแสนคนที่ “ยอมเป็นผี ไม่ยอมตัดผม”
     
       จนเมื่อการปฏิวัติซินไฮ่ล้มล้างราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลงและได้มีการก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจีนขึ้น ฝ่ายผู้มีชัยก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร และประชาชนตัดผมเปียทิ้งใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมาย กลุ่มคนหนุ่มสาวนักปฏิวัติที่เดินตามท้องถนนหากพบเห็นใครยังไว้ผมเปียก็จะตรงเข้าไปตัดผมทันที คนที่ไม่กล้าหรือไม่ต้องการตัดผมเปียก็จะใส่หมวกปิดบัง
     
       กระทั่งหลังยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ผมจึงเริ่มห่างไกลกับการเมืองมากขึ้น กฎเกณฑ์และข้อจำกัดเรื่องผมเริ่มหายไปจากสังคม ชาวบ้านค่อยๆ มีอิสระในการเลือกไว้ผม หรือตัดผมได้ตามใจปรารถนา ยิ่งเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา รูปแบบทรงผมใหม่ๆ ก็เริ่มเข้ามา รวมไปถึงการย้อมสีผมด้วย
     
ที่มา:
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000112968
วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน


เชื่อว่าหลายท่านที่เป็นคอละครหนังจีนกำลังภายในหรือย้อนยุค คงเคยเกิดความสงสัยอย่างที่ผู้เขียนสงสัย นั้นก็คือความหลายหลายของเสื้อผ้าตัวละครในหนังจีน ว่าทำไมแต่ละเรื่องการแต่งกายจึงมีความไม่เหมือนกัน เสื้อผ้าและทรงผมแบบนี้มีอยู่จริงหรือ หลายท่านคงเดาออกว่าประวัติศาสตร์ชาวจีนมีมานานแสนนาน มีมาหลายราชวงศ์ แต่ก็สับสนทุกครั้งที่ชมละครหรือภาพยนตร์จีน

ในฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอพูดถึงหัวข้อวิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายชาวจีนแก่ท่านผู้อ่าน เพื่อท่านผู้อ่านสามารถชมละครหรือภาพยนตร์จีนให้ได้อรรถรสของกลิ่นอายวัฒนธรรมชาวจีน ในยุคเก่าก่อน

ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

เนื่องจากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป



วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน ( 历代服饰 )


สมัยฉิน (秦221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยาง(( 阴阳)ความสมดุลของสรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว

เสื้อผ้าผู้ชายสมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด

เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยฉินและฮั่น  

ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป  

เสื้อผ้าผู้หญิง

สมัยฮั่น (汉202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)   เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว(袍)  เสื้อลำลองแบบสั้น(襜褕)  เสื้อนวมสั้น (襦)  กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ดังนั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว  และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ  ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น  กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์  (留仙裙)”


สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย   ( 魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589)      สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม







สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)   เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกันสูง  เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะเรียบง่าย  เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงามขึ้นเช่นกัน

 ชุดกษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง   
เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย แลดูเรียบง่าย

ในสมัยถัง นับได้ว่ามีความเจริญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิดหน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้นเทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยถังเป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก

   เสื้อผ้าผู้ชายสมัยถัง     

เสื้อผ้าสตรีสมัยถัง

สมัยซ่ง  ( 宋ค.ศ.960 - ค.ศ.1279)  แบบเสื้อผ้าสมัยซ่งยังคงได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากสมัยถัง แต่เนื่องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัชญา(ของสำนักขงจื้อ) เฟื่องฟู  พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มีรสนิยมชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูดฉาด เครื่องแต่งกายเสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่  สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสีเสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วงคอตรง  ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง”  แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น

 เสื้อกั๊กสมัยซ่ง   


สมัยเหวี่ยน   (元ค.ศ.1206 - ค.ศ.1368)  สมัยเหวี่ยนเป็นสมัยที่มองโกลได้เค้ามายึดครองเมืองจีน แต่ทว่าวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอยู่ ดังนั้นเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายมองโกลและฮั่น

                เสื้อผ้าชายหญิงในสมัยเหวี่ยนไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยังคงเป็นลักษณะกี่เพ่าหรือชุดคลุมยาว มีเทคนิคการทอโดยการใช้วัตถุดิบผ้าทอง และขนสัตว์ ในการทอเสื้อผ้า เพื่อเป็นการแบ่งระหว่างการตัดเย็บแบบมองโกล และการตัดเย็บแบบฮั่น ชาวมองโกลจะมีเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายที่นอกเหนือจากกี่เพ่ายาวแล้ว ยังนิยมสวมหมวก “กูกู” (姑姑冠) เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางซ้าย ยาวและลึก สวมกระโปรงยาวทับ รองเท้าบูธหนังนิ่ม    หากเป็นเสื้อผ้าสตรีชาวฮั่นโดยทั่วไปแล้วยังคงสืบทอดการแต่งกายสมัยซ่งอยู่ เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางขวา มีผ้าคลุมไหล่ สวมกระโปรงจับจีบ สวมรองเท้าเรียบติดพื้น

เสื้อผ้าสตรีสมัยเอวี่ยน

สมัยหมิง  (明ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) ในสมัยหมิงหรือสมัยแมนจูได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวฮั่น ดังนั้นเครื่องแต่งกายจะมีกลิ่นอายการผสมผสานระหว่างสมัยฮั่น  ถังและซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็นหลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ฝู” (补服)สวมหมวกผ้าแพรบาง(乌纱帽) สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลางเสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้นผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสีเหลี่ยมอีกด้วย ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน  (袄) พกผ้าคลุมที่มีไว้พาดไหล่สีแดง(霞披) หรือพัด และสวมกระโปรงเป็นต้น

                รูปแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เช่น เสื้อกั๊กยาว ยังคงลอกเลียนมาจากสมัยถังและซ่ง นางในสมัยหมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่อมใส สวมเสื้อก๊กเป็นชุดนอก แขนเสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยหมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพันเท้าให้เล็กหรือเรียกกันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”

 เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม

สมัยชิง  ( 清ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 )    เครื่องแบบสมัยชิงยังคงได้รับการตกทอดมาจากสมัยหมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของแบบเสื้อสมัยฮั่นเข้ามาประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน (马褂) เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะเป็นเสื้อกล้าม (马甲) โกนศรีษะออกครึ่งนึง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้านนอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุดลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อและกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างชาวฮั่นกับชาวแมนจู  โดยเฉพาะกี่เพ่าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก  กระโปรง  ผ้าคลุมไหล่  สายรัดเอว เครื่องแต่งกายต่าง ๆ เรียกได้ว่าถอดมาจากสมัยหมิงหรือแมนจูเลยก็ว่าได้ ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง

เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง  

 สภาพเท้าของสตรีที่รัดเท้าเมื่อเอาผ้าพันเท้าออก   

สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (近代ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของผู้ชาย กี่เพ่าผู้หญิง เสื้อกั๊ก  กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อจีน อีกทั้งในยุคดังกล่าวยังได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จงซาน  ชุด ฟรอม์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง 

ชุดฟรอม์จงซานของคุณซุนจงซาน  

ชุดกี่เพ่าแขนกุด 

 เสื้อผ้าสตรีหลังจากยุคปฏิวัติซินไฮ่



ที่มา:

















นิทาน

นิทานเกี่ยวกับไหว้เจ้าแห่งเตาไฟ



ช่วงเวลากว่า 2000 ปีที่ผ่านมา จีนมีประเพณีไหว้เจ้าในวันที่ 23 เดือนอ้ายตามจันทรคติ เพื่อแสดงขอบคุณเจ้าแห่งเต้าไฟ


เจ้า แห่งเตาไฟเป็นเทวดาในเทพนิยายจีนโบราณ เป็นข้าราชการที่พระเจ้าอยี้หวงแห่งสวรรค์จัดส่งไปดูแลทุก ๆ ครอบครัวในโลกมนุษย์ แต่ละปี เจ้าแห่งเตาไฟต้องกลับขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อรายงานสภาพของครอบครัวต่าง ๆ ให้พระเจ้าหยี้หวงรับทราบ ผู้คนจึงต้องเอาใจเจ้าแห่งเตาเพื่อจะได้รับคำชมจากเขา จึงกลายเป็นประเพณีไหว้เจ้าแห่งเจาไฟในแต่ละปี นิทานเกี่ยวกับการไหว้เจ้าแห่งเจาไฟมีมากมาย และสนุกด้วย


เล่า กันว่าในโบราณมีเศสฐีคนหนึ่งชื่อจางเซิง เมียของเขาชื่อติงเซียง หน้าตาสวยงามและนิสัยดีมาก ทีแรก สามีภรรยาคู่นี้อยู่ร่วมกันอย่างดีและใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาวันหนึ่ง จางเซิงทำไปธุรกิจนอกบ้าน ได้พบสาวสวยคนหนึ่งชื่อไห่ถัง เกิดติดใจขึ้มาทันที นางสาวไห่ถังก็เห็นแก่ความร่ำรวยของนายจางเซิง จึงเอาอกเอาใจเขา ไม่นาน นายจางเซิงก็รับนาวสาวไห่ถังเข้าบ้านเป็นเมียน้อย แต่ไห่ถังเห็นว่าติงเซียงสวยกว่าตน และเป็นเมียหลวงด้วย จึงเกิดอารมณ์อิจฉา และบังคับให้นายจางเซิงขับไล่ติงเซียงออกจากบ้าน


ต่อ จากนั้น จางเซิงกับไห่ถังก้เอาแต่กิน ๆ เล่น ๆ ทุกวัน ไม่ถึงสองปี เงินทองก็ถูกใช้จนหมดแล้ว ไห่ถังเห็นว่านายจางเซิงกลายเป็นคนจนแล้ว ก็เลยออกจากบ้านไปแต่งงานกับคนอื่น นายจางเซิงต้องเร่ร่อนขอทานไปตามถนน วันหนึ่งหิมะตกหนักมาก นายจางเซิงทั้งหนาวทั้งหิว สุดท้ายก็ล้มลงที่หน้าบ้านคนรวยคนหนึ่ง สาวรับใช้ของบ้านนี้เห็นแล้วก็รีบพาเขาเข้าห้องครัว และบอกกับคุณนายผู้หญิงเจ้าขอบ้าน สักครู่คุณนายผู้หญิงก็มาดูเขา นายจางเซิงลืมตาเห็นเจ้าของบ้าน ตกใจครั้งใหญ่ เพราะเจ้าของบ้านก็คือติงเซียงที่ถูกเขาทอดทิ้งเมื่อสองปีก่อนนั่นเอง นายจางเซิงรู้สึกอับอายมาก จึง รีบหาที่ซ่อนตัว พอเห็นเตาหุงอาหารในครัว ก็ซุกตัวเข้าไปข้างในเตา ติงเซียงเข้ามาถึงห้องครัวไม่เห็นคนขอทาน รู้สึกแปลกใจมาก มองไปมองมา ได้เห็นมีอะไรอุดอยู่ที่ปากเตา จึงดึงออกมา พอเห็นหน้าก็รู้ว่าเป็นสามีเก่าของตนแต่ถูกเผาตายเสียแล้ว ติงเซียงเศร้าโศกอย่างยิ่งและเสียชีวิตในอีกไม่นานต่อมา พระเจ้าอยี้หวงรู้เรื่องนี้แล้ว คิดว่านายจางเซิงกล้ายอมรับความผิดของตน ยังคงเป็นคนที่ใช้ได้ ก็เลยแต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าแห่งเจาไฟ และให้ติงเซียงเป็นเจ้าแห่งเจาไฟหญิง คนรุ่นหลังจึงได้ตั้งป้ายเจ้าแห่งเจาไฟสองที่พร้อมกันและบูชาในห้องครัว


ใน สมัยโบราณ ผู้คนหวังว่าเจ้าแห่งเจาไฟเพียงจะรายงานเรื่องดี ๆในครอบครัวของตนให้พระเจ้าอยี้หวงรับทราบ ก็เลยเอาน้ำตาล จ้าวถัง เป็นของไหว้บูชาด้วย น้ำตาล จ้าวถัง เป็นน้ำตาลข้าวมอลท์ชนิดหนึ่ง ทั้งหวานและเหนียว พอใส่เข้าปากแล้ว เหนียวจนติดฟัน ผู้คนเอาน้ำตาลชนิดนี้ถวายเจ้าแห่งเตาไฟ คิดว่าพอเจ้าแห่งเจาไฟกินน้ำตาล จ้าวถัง เข้าปากแล้วคงจะปากหวานขึ้น และจะรายงานแต่เรื่องที่ดีไม่พูดเรื่องเสีย ความเชื่อดังกล่าวก็คงเป็นความหวังที่แสนตลกและน่าขบขันชนิดหนึ่งเท่านั้น









นิทานเกี่ยวกับฉูซีหรือวันส่งท้ายปีเก่า


คืน สุดท้ายของเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีนเรียกว่าฉูซี คำว่า ฉู มีหมายความว่าตัดทิ้ง คำว่า ซี หมาย ความว่าคืน คำว่าฉูซีก็คือตัดทิ้งคืนสุดท้ายของปีเก่าเพื่อต้อนรับปีใหม่ ในประเทศจีน ฉูซียังมีชื่ออื่นเช่นฉู เหนียนเย่หรือ ซาจับเม้


ใน จีนมีประเพณีพื้นเมืองเกี่ยวกับฉูซีมากมาย สิ่งสำคัญอันแรกคือทำความสะอาด หลายวันก่อนคืนส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจะกวาดบ้านถูพื้นให้สะอาด พอถึงวันส่งท้ายปีเก่าจะทำความสะอาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขจัดของเก่าและรับรองของใหม่ ประเพณีอันนี้มาจากนิทานเรื่องเล่าว่า ในสมัยโบราณมีชายคนหนึ่งที่ขี้เกียจทำงาน ใส่เสื้อเก่าสกปรก กินข้าวต้มที่มีแต่น้ำไม่มีข้าว ในคืนส่งท้ายปีเก่าของปีใด ปีหนึ่ง ชายคนนี้ก็อดข้าวและหนาวตายในบ้าน ดังนั้นพอถึงวันส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจึงพากันทิ้งเสื้อผ้าเก่าและอาหารที่เหลือก่อนปีใหม่ เพื่อไม่ให้ความยากจนมาถึงบ้านของตน


หลัง จากทำความสะอาดแล้ว จะติดคำกลอนคู่บนประตูบ้านของตน และแขวนโคมไฟเพื่อสร้างบรรยากาศเทศกาล คืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ฉูซี จะดื่มน้ำดื่มชนิดหนึ่งชื่อว่า ถูซู ซึ่งผลิตจากเหล้าหรือน้ำ เล่ากันว่า มีคนโบราณคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกระท่อมหลังหนึ่งชื่อ ถูซู คนนี้เป็นคนพิเศษมาก เขาทำงานขุดหาสมุนไพรในป่าเขาโดยเฉาพาะ พอถึงวันฉูซีก็เอาสมุนไพรจีนที่ปรุงเสร็จแล้วไปส่งตามหมู่บ้าน และบอกกับชาวบ้านว่า ให้ทั้งครอบครัวดื่มในวัน ชิวอิ๊ต หรือวันขึ้นปีใหม่จีน ยานี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขจัดภัยต่าง ๆ ได้ เขายังบอกตำรายาให้ชาวบ้านอย่างเปิดเผย ดังนั้น ชาวบ้านท้องถิ่นจึงเรียกยาชนิดนี้ว่า ถูซู ยาตัวนี้ประกอบด้วยสมุนไพรจีน 7 ชนิด สามารถป้องกันรักษาโรคได้ดี


คืน ส่งท้ายปีเก่ามีประเพณีโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ในวันนี้ สมาชิกครอบครัวทุกคนต้องกลับมาบ้านพ่อแม่พร้อมหน้าพร้อมต้ากัน จัดอาหารอร่อยที่สุดมาวางเต็มโต๊ะ ร่วมกันฉลองวันส่งท้ายปีเก่า


ใน ท้องที่ต่าง ๆ ของจีน อาหารบนโต๊ะจะไม่ค่อยเหมือนกัน ในภาคใต้ อาหารมื้อนี้จะมีกับข้าวสิบกว่าอย่าง ในนี้ต้องมีต้าวหู้และปลา เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่าฟู่อยู้ซึ่งมีความหมายแปลว่าร่ำรวย ในภาคเหนืออาหารบนโต๊ะส่วนมากจะเป็นเกี๊ยวน้ำ สมาชิกทุกคนในครอบครัวร่วมมือกันทำ เอาใส้หมูสดใส่ในหนังแป้งบาง ๆ แล้วต้มในน้ำเดือด พอต้มสุกแล้ว สมาชิกทั้งครอบครัวรวมตัวกันนั่งกินเกี๊ยวเพื่อให้ได้ความหมายอยู่พร้อมหน้า พร้อมตากันเป็นครอบครัวที่อบอุ่นสนิทกัน


ค่ำ วันส่งท้ายปีเก่าหรือฉูซี ผู้ใหญ่พาลูก ๆ ไปใอบของขวัญให้บ้านเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องเพื่อฉลองปีใหม่ เรียกว่า ขวุ้ยเสว้ย การเชิญคนอื่นมาทานข้าวที่บ้านเรียกว่า เปี๋ยเสว้ย หลังจากทานข้าวเสร็จแล้ว ก่อนกลับบ้านจะให้คำอวยพรแก่กันเรียกว่า ส่านเสว้ย ส่วนลูกหลานในบ้านจะกล่าวแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะมีคำสอนคำอวยพรต่อลูกหลาน และให้อั่งเปาแก่เด็ก ๆ ในบ้าน สุดท้ายกล่าวอวยพรปีใหม่อีกที นนี่เรียกว่า ฉือเสว้ย ค่ำวันนี้ ผู้คนต่างไม่ยอมเข้านอน ทั้งครอบครัวจะดูโทรทัศน์หรือเล่นไพ่กันจนถึงเวลาปีใหม่มาถึง นี่เรียกว่า โส่วเสว้ย


โส่ว เสว้ย เป็นกิจกรรมในคืนส่งท้ายปีเก่าที่ชาวจีนนิยมมาก นายลู่เหยียวนักกวีโบราณจีนที่มีชื่อเสียงเคยแต่งกลอน โส่วเส้วย เขียนถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่ไม่ยอมเข้านอน เล่นเฮฮากันทั้งคืน ในคืนฉูซี เด็ก ๆ ทั้งหลายดีใจที่สุด เพราะวันปกติจะถูกพ่อแม่ควบคุม แต่วันนี้ไม่มีใครมาไล่ให้เข้ารนอน สามารถโส่วเสว้ยอยู่กับพ่อแม่จนถึงท้องฟ้าสว่างปีใหม่มาถึง เต็มไปด้วยบรรยากาศปิติยินดีที่ส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่









ที่มา:

http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html

กำแพงเมืองจีน

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=oKuedXoNl3M

การออกเสียงพินอิน

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=pCpKNzC9cKM&feature=relmfu

สถานที่ท่องเที่ยวในจีน

ประเทศจีน เป็นประเทศเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพัน ๆปี ผ่านมาแล้วทั้งร้อนทั้งหนาว ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ เพื่อดำรงชีวิตหรือเพื่อศักดิ์ศรี บางครั้งสู้รบกันเอง บางครั้งสู้รบกับคนต่างชาติ และบางครั้งก็สู้กับธรรมชาติ ความกล้าหาญ ความอดทน และความฉลาดหลักแหลมของบรรพชนรังสรรค์อารยธรรมที่เป็นต้นกำเนิด และวิทยาการที่ทรงคุณค่ามากมาย

นับจากที่ องค์การยูเนสโก ได้ลงมติพิจารณา เขาไท่ซัน แห่งมณฑลซันตงของจีน ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในปีค.ศ. 1987 เป็นต้นมา สิ่งมหัศจรรย์ในแผ่นดินใหญ่ได้ค่อยๆเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในเวลาต่อๆมา จนถึงปีค.ศ. 2003 จีนมีสถานที่สำคัญที่เป็นมรดกโลกแบ่งเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 21 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง และมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 29 แห่ง นับเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศแถบเอเซีย

การท่องเที่ยวในเมืองจีน

ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล และสถานที่สวยงามน่าสนใจมากมาย การเดินทางท่องเที่ยวให้ครบทั้งประเทศ ประมาณกันว่าต้องใช้เวลา 2 ปี เที่ยวเฉพาะเมืองสำคัญ แค่พอได้รู้จักใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ดังนั้นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเดินทางไปยังเมืองสำคัญ และสถานที่ที่เป็นจุดเด่น เราลองมาดูรายละเอียดเมืองที่น่าสนใจในเมืองต่างๆกันคะ มรดกโลก วัฒนธรรมและธรรมชาติ ปี 1987



1. เขาไท่ซัน-มณฑลซันตง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987

เขา ไท่ซาน มีสภาพภูมิศาสตร์ทอดตัวยาวอยู่ท่ามกลางพื้นที่ราบสลับเนินเขาเตี้ยๆในมณฑล ซานตง ถิ่นกำเนิดของท่านขงจื๊อ ปรัชญาเมธีของจีน ยอดเขาหลัก อี้ว์หวง หรือจักรพรรดิหยก มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,545 เมตร ภูเขาไท่ซานถึงแม้จะไม่ใช่เทือกเขาที่มีความสูงมากนัก แต่ด้วยภูมิประเทศโดยรอบส่งให้เทือกเขาแห่งนี้โดดเด่นขึ้นเป็นแนวยาวทาง ตอนกลาง ราวกับเป็นกระดูกสันหลังของมณฑล





2. กำแพงเมืองจีน-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987

กำแพง เมืองจีน หรือว่านหลี่ฉางเฉิงมีความยาวประมาณ 6,700 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทะเลโป๋ไห่ทอดผ่านแผ่นดิน 9 มณฑล ไปสิ้นสุดที่ทะเลทรายมณฑลกานซูทางตะวันตกของประเทศ







3. กู้กง(พระราชวังต้องห้าม)-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987

สร้าง ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่ง เล่อแห่ง ราชวงศ์หมิง ระหว่าง ค.ศ. 1406 - 1420 และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยรัชกาลต่อๆมา อาณาเขตของรชวังล้อมด้วยกำแพงสูงโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีประตูผ่านเข้าสู่วังทางทิศใต้ด้านประตูเทียนอันเหมิน ภายในมีเนื้อที่กว้างขวางถึง 720,000 ตารางเมตร







4. เทียนทาน หรือ วัดสวรรค์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง

เป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับประกอบพิธีบรมราชาภิเษก พิธีไหว้ฟ้าดิน และเทพเจ้าต่างๆ เพื่อขอพรให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความสุข พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ตั้งอลู่ใจกลางสวนขนาด 267 เฮกตาร์ ประกอบด้วยซีเหนียนเตี้ยน








5. จัตุรัสเทียนอันเหมิน

เทียน อันเหมิน แปลว่า สงบดังอยู่ในสวรรค์ จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นลานซีเมนต์กว้างใหญ่ถึง 275 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังต้องห้าม ใช้เป็นที่ประกอบพิธีใหญ่และงานชุมนุมสำคัญของประเทศ เมื่อเหมาเจ๋อตุงประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนก็กระทำที่นี







ที่มา:

http://www.oecschool.com/China_pictures/travel%20in%20China.php

สอนการเขียนอักษรจีน ตามลำดับขีด

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=Yvt7CUBO4SE

วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน

การวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน มีการพัฒนาของการเขียน กล่าวโดยรวมอักษรจีนได้ผ่านการปฎิรูป 7 ครั้ง ดังนี้

1. อักษรเจี๋ยกู่เหวิน เป็นอักษรที่แกะสลักไว้บนกระดองเต่า และกระดูกสัตว์ อยู่ในสมัยราชวงศ์เซี่ยและซาง







2. อักษรโลหะ เป็นอักษรจีนที่หลอมบนเครื่องใช้โลหะ อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก







3. อักษรจ้วนซู เป็นอักษรจีนที่เน้นความสวยงาม แต่ยุ่งยากในการเขียน อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น








4. อักษรลี่ซู เป็นอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรจ้วนซู อยู่ในสมัยราชวงศ์ฉิน และสมัยราชวงศ์ฮั่น






5. อักษรเฉ่าซู (ตัวหวัด) เป็นอักษรจีนที่อ่านเข้าใจยาก อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา






6. อักษร สิงซู เป็นอักษรจีนที่สวยงาม เขียนง่าย และอ่านเข้าใจง่าย อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา









7. อักษรไข่ซู เป็นอักษรจีนที่บรรจงที่สุด อยู่ในสมัยราชวงศ์ซุย และสมัยราชวงศ์ถัง จนถึงปัจจุบัน







ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html




เทศกาลหยวนเซียว

 วัน ขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลหยวนเซียว ซึ่งเป็นเทศกาลเก่าแก่อีกเทศกาลหนึ่งของจีน และเป็นเทศกาลที่ต่อจากเทศกาลตรุษจีน

 คืน ของเทศกาลหยวนเซียวเป็นคืนแรกของปีใหม่ที่เห็นพระจันทร์เต็มดวง คืนนั้น มีประเพณีแขวนโคมไฟ ดังนั้น เทศกาลหยวนเซียวมีอีกชื่อหนึ่งว่า“เทศกาลโคมไฟ” การชมโคมไฟและการกินขนมหยวนเซียวเป็นกิจกรรมสำคัญของเทศกาลหยวนเซียว เหตุใดต้องแขวนโคมไฟในเทศกาลหยวนเซียว

 เล่า กันว่า เมื่อปี 180 ก่อนคริสต์กาล กษัตริย์ฮั่นเหวินตี้ของราชวงศ์ฮั่นขึ้นครองราชย์ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย เืพื่อฉลองเรื่องนี้ กษัตริย์ฮั่นเหวินตี้กำหนดวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายเป็นเทศกาลโคมไฟ พอถึงคืนนั้น พระองค์จะเสด็จออกจากวังไปร่วมสนุกกับประชาชน วันนั้น ไม่ว่าบ้านเล็กบ้านใหญ่ ตรอกซอกซอยล้วนจะแขวนโคมไฟหลากสีที่มีรูปลักษณะต่างๆให้ชมกัน  ถึง ปี 104 ก่อนคริสตกาล เทศกาลหยวนเซียวได้รับการกำหนดเป็นเทศกาลสำคัญแห่งชาติ ทำให้การฉลองเทศกาลหยวนเซียวมีขนาดใหญ่โตยิ่งขึ้น ตามข้อกำหนด สถานที่สาธารณะต่่างๆและทุกบ้านต้องประดับโคมไฟ โดยเฉพาะย่านการค้าและศูนย์วัฒนธรรมต้องจัดงานโคมไฟขนาดใหญ่ ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย เด็กหรือผู้เฒ่าล้วนจะไปชมโคมไฟ ทายปริศนาโคมไฟและเชิดโคมไฟมังกรตลอดคืน ต่อมา ประเพณีนี้ได้สืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัย ตามการบันทึก ปีค.ศ. 731 สมัยราชวงศ์ถางเคยทำภูเขาโคมไฟสูง 7 เมตรที่ประกอบด้วยโคมไฟกว่า 5 หมื่นดวงตั้งอยู่ในเมืองฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถาง

 โคม ไฟที่แขวนโชว์ในเทศกาลหยวนเซียวส่วนมากจะทำด้วยกระดาษสีต่างๆ จะทำเป็นรูปภูเขา สิ่งก่อสร้าง คน ดอกไม้ นกและสัตว์ชนิดต่างๆ โคมไฟ“โจ่วหม่าเติง”เป็นโคมไฟที่มีเอกลักษณ์ของจีนอย่างเด่นชัด โคมไฟ“โจ่วหม่าเติง”เป็น ของเล่นชนิดหนึ่ง มีประวัติกว่าพันปีแล้ว ภายในโคมไฟได้ติดตั้งล้อวงจักร พอจุดเทียนในโคมไฟ กระแสอากาศที่ได้รับความร้อนจากเปลวเทียนจะดันวงจักรที่ติดกระดาษรูปคนขี่ ม้าในอิริยบถต่างๆหมุนไปตามวงจักร เงาของรูปคนขี่ม้าจะสะท้อนอยู่บนกระดาษชั้นนอกของโคมไฟ มองแล้วเสมือนม้ากำลังวิ่งห้อตะบึง

 การ กินขนมหยวนเซียวเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของเทศกาลหยวนเซียว สมัยราชวงศ์ซ่ง ประชาชนนิยมกินขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งในเทศกาลโคมไฟ ขนมชนิดนี้มีรูปลักษณ์กลม ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ข้างในมีไส้หวาน ภาคเหนือของจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า“หยวนเซียว”ส่วนภาคใต้เรียก“ทังหยวน” หรือ“ทังถวน”

 ปัจจุบัน ขนมหยวนเซียวมีไส้หลายสิบชนิด เช่น ซันจา พุทรา ถั่วแดง โหงวยิ้น งา เนยและช็อกโกแลตเป็นต้น รสชาติของหยวนเซียวในพื้นที่ต่างๆจะแตกต่างกัน

 นอกจากชม โคมไฟและกินขนมหยวนเซียวแล้ว เทศกาลหยวนเซียวยังมีกิจกรรมละเล่นต่างๆมากมาย เช่น ระบำไม้ต่อขา รำพัด เชิดสิงห์โตเป็นต้น  โดย เฉพาะการเชิดสิงห์โต มิเพียงแต่ในปะเทศจีนเท่านั้น ไม่ว่าแหล่งชุมชนชาวจีนในแห่งหนตำบลใดของโลกก็ตาม พอถึงเทศกาลสำคัญๆก็จะจัดการแสดงเชิดสิงห์โตทั้งนั้น การเชิดสิงห์โตแบ่งเป็นสำนักใต้กับสำนักเหนือ การเชิดสิงห์โตของสำนักใต้เน้นอิริยาบถและเทคนิคท่วงท่า ส่วนมากใช้สองคนเชิด  ส่วนสำนักเหนือจะเน้นความสง่าผ่าเผย ปกติจะมี 10 กว่าคนกระทั่งหลายสิบคนเชิดด้วยกัน ขณะเชิดสิงห์โตนั้น จะมีดนตรีพื้นเมืองของจีนเล่นประกอบด้วย ไม่ว่าผู้แสดงหรือผู้ชม ต่างสนุกสนานกันถ้วนหน้า ทำให้บรรยากาศของเทศกาลหยวนเซียวคึกคักยิ่ง




เทศกาลวันเช็งเม็ง

 วัน เช็งเม๊งเป็น 1 ของ 24 ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาต้นเดือนเมษายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน พอถึงวันนี้ ผู้คนจะเดินทางไปชานเมือง เพื่อกราบไหว้รรพบุรุษ เดินเที่ยวชมวิว และเก็บกิ่งหลิวกลับมาเสียบประตูบ้าน

 ใน ท้องที่บางแห่งของจีนเรียกวันเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลผี จะเห็นได้ว่านี่เป็นวันเส้นไหว้บรรพบุรุษ เวลาก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ทุกครอบครัวจะไปไหว้หลุมบรรพบุรุษ ตัดทิ้งญ้ารกที่ขึ้นตามหลุมศพ เพิ่มดินใหม่บนหลุม แล้วจุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทองกราบไหว้แสดงความไว้อาลัย มีกลอนโบราณยุคซ้องได้บรรยายถึงสภาพของประเพณีไหว้หลุมศพว่า สุสานบนเขาเหนือใต้ ผู้คนกราบไหว้วันเช็งเม็ง กระดาษเงินทองปลิวว่อนคลั่งผีเสื้อ เลือดและน้ำตาหลั่งชะโลมดอกตู้เจียนให้แดงสะพรั่ง

 เล่า กันว่าวันเชงเม๊งเริ่มขึ้นในสมัยราชวงค์ฮั่น (ก่อนค.ศ.206 – ค.ศ 220) จนถึงสมัยราชวงค์หมิงและสมัยราชวงค์ชิง พิธีไหว้หลุมบรรพบุรุษพัฒนาถึงขั้นสูงสุด บางคนมิเพียงแต่เผากระดาษเงินกระดาษทองที่หน้าสุสานแล้ว ยังทำกับข้าว 10 อย่างไปวางไว้หน้าสุสานด้วย

 การ ไหว้่สุสานบรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม็งเป็นประเพณีสำคัญของจีน และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าพิธีไหว้จะเรียบง่ายกว่าสมัยก่อน มีรูปแบบทั้งการไหว้ของแต่ละครอบครัว และการไหว้ที่จัดโดยองค์กรและหมู่คณะต่าง ๆ  โดยผู้คนจะพากันไปไหว้สุสานของวีรบุรุษที่สละชีพเพื่อชาติ โดยวางดอกไม้สดหรือต้นสนต้นเล็กเพื่อแสดงความไว้อาลัย

 วัน เช็งเม็งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของจีน แม้ว่างานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้บรรพบุรุษเป็นหลักก็ตาม แต่ในระหว่างประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น ผู้็้คนยังถือโอกาสนี้เป็นการออกนอกบ้านท่องเที่ยวตามชานเมือง ชมต้นไม้สีเขียวที่ไม่ได้เห็นในฤดูหนาวเป็นเวลาหลายเดือน ท้องที่บางแห่งของจีนจึงเรียกเทศกาลเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลวันเหยียบสีเขียว

 ใน สมัยโบราณยังมีประเพณีที่เดินเที่ยวชมสีเขียวตามชานเมืองและเด็ดดอกไม้ของ ผักสดชนิดหนึ่งชื่อว่า ฉีไช่ แต่ประเพณีนี้ยากที่จะเห็นได้ในสมัยปัจจุบัน คือก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ผู้หญิงหรือสาว ๆ มักจะออกจากบ้านไปเที่ยวตามชานเมืองและเด็ดผักป่าสด ๆ กลับมาบ้าน ทำเป็นใส้เกี๊ยวน้ำ รสชาติอร่อยมาก ผู้หญิงบางคนยังเอาดอกสีขาวของผักฉีทำเป็นปิ่นผม ช่วงเทศกาลเช้งเม็ง ชาวจีนยังนิยมการเล่นวาก เล่นชักคะเย่อและเล่นชิงช้าเป็นต้น

 ทำไม วันเช้งเม็งใช้คำว่าเช็งเม็ง ตามภาษาจีนกลาง เช็งเม็งหมายความว่าสดชื่น สว่างและแจ่มใส ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสดชื่น ญ้ากำลังขึ้นเขียว ป่าไม้เริ่มผลิดอกออกใบ  เป็น ช่วงเวลาเริ่มทำไร่ไถน่า ในสำนวนการเกษตรของจีนมีการบรรยายถึงเทศกาลเช็งเม็งกับการเกษตร เช่น ชิงหมิงเฉียนโฮ่ว จ้งกวาจ้งโต้ว ความหมายคือก่อนและหลังช่วงเวลาเช็งเม็ง เป็นเวลาเหมาะสมที่จะปลูกแตงปลูกถั่ว และยังมีสำนวนกล่าววว่า การปลูกต้นไม้ต้นใหม่ต้องไม่เกินเทศกาลเช็งเม็ง ช่วงเวลาก่อนเช็งเม็งพืชอะไรก็ปลูกขึ้นได้ดีหมด

 ใน เทศกาลเช็งเม็งยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ มีกลอนโบราณจีนที่บรรยายทิวทัศน์ว่า ต้นหลิวทั่วเมืองออกใบสีเขียวอ่อนเหมือนหมอกสีเขียวเต็มท้องฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่วงเทศกาลเช็งเม็ง







ที่มา:
 http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html